Labels

12.16.2011

ชัดลึก ชัดตื้น

เราเชื่อม link ชมรมถ่ายภาพมาไว้ที่นี่ด้วยนะ ...

ชมรมถ่ายภาพมัธยม  ทำ

เรื่องของชัดลึก ชัดตื้น ...

เรื่องของชัดลึก ชัดตื้น
สนใจชมรมถ่ายภาพ ต้องการติดตามผลงาน ... หรือมาเข้าร่วมชมรมถ่ายภาพ ติดต่อครูฟี่หรือครูครีมได้เลยค่ะ

12.04.2011

ใบงานชั้น 8: ธาตุ สารประกอบ และ El Nino

งานที่นักเรียนจะทำในระหว่างนี้ มี 3 ชิ้น  กำหนดส่ง 12 ธันวาคม 2554

งานชุดนี้  เป็นงานที่ต้องใช้การสังเกต การสืบค้น และการประมวลความรู้

1)  จากตารางธาตุที่ได้ทบทวนไป  อยากให้นักเรียนศึกษาต่อไปว่า  ธาตุหลายตัวมารวมกันเป็นสารประกอบที่มีชื่อ และประโยชน์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวัน  งานชิ้นนี้ จำเป็นต้องใช้การสืบค้น  สิ่งที่นักเรียนต้องสังเกต และเชื่อมโยงกับตารางธาตุ  ว่าในชื่อสูตรเคมี หรือสารประกอบแต่ละชนิดประกอบด้วยธาตุอะไรบ้าง

ขอให้นักเรียนทำตารางแบบที่ครูน้องทำมาให้ดู  ใส่ลงในกระดาษ แล้วเขียนด้วยลายมือ และต้องสังเกตการใช้อักษรตัวใหญ่ ตัวเล็ก และตำแหน่งตัวเลขให้ดี  (ย้ำว่า ให้เขียนด้วยลายมือนะคะ)

รายชื่อสารประกอบในรูปสูตรเคมี ... เห็นธาตุต่างๆ ที่อยู่ในสารเคมีเหล่านี้ไหม

2)  นักเรียนคิดว่าน้ำท่วมที่สร้างปัญหาให้กับประเทศไทยในขณะนี้ มีสิ่งปนเปื้อนชนิดใดบ้าง และสามารถแยกสิ่งปนเปื้อนเหล่านี้ได้อย่างไร (เขียนด้วยลายมือ ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4  พร้อมรูปประกอบ)

3) นักเรียนทราบหรือไม่ว่าปรากฏการณ์  "El Nino" และ "La Nina" คืออะไร  และนักเรียนคิดว่าปรากฏการณ์ดังกล่าวนี้มีผลต่อสถานการณ์น้ำท่วมในประเทศไทยหรือไม่ อย่างไร พร้อมทั้งทำนายสภาพภูมิอากาศที่จะเกิดขึ้นในปี 2012 ด้วย (เขียนด้วยลายมือ ความยาว 1 หน้ากระดาษ A4)

กำหนดส่งถึงมือครูน้อง วันที่ 12 ธันวาคม 2554 นะคะ

ใบความรู้: การแยกสาร (2)


การแยกสารเนื้อเดียว

             สารเนื้อเดียวนอกจากจะเป็นสารละลายแล้ว อาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็ได้ ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบว่าเป็นสารละลายหรือสารบริสุทธิ์ได้โดยวิธีตรวจสอบทางเคมี และทางกายภาพ

             1) การระเหยแห้ง  การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลวและมีของแข็งละลายในของเหลวนี้  จนทำให้สารผสมมีลักษณะเป็นของเหลวใส ซึ่งเราเรียกสารผสมนี้ว่าสารละลาย เช่น น้ำทะเล น้ำเชื่อมน้ำเกลือ เป็นต้น การแยกสารโดยวิธีการระเหยแห้งนิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลมีการนำเกลือเพื่อแยกน้ำทะเลให้ได้เกลือสมุทรโดยวิธีการระเหยแห้ง


ทำนาเกลือ ... ใช้การแยกสารประกอบแบบไหน?!


             2) การตกผลึก  คือกระบวนการเกิดผลึกของแข็งจากสารละลาย(solution) จากของเหลว (melt) หรือไอ (vapor)โดยกระบวนการดังกล่าว อาจเกิดขึ้นเองในธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการตัวอย่างการเกิดผลึกในธรรมชาติ เช่น ผลึกน้ำแข็ง(ice crystals) หิมะ (snow) เป็นต้น ผลึกของสารอินทรีย์เช่น อินซูลินและน้ำตาล ผลึกของธาตุเช่น แกลเลียม และซิลิกอน ซึ่งสามารถเกิดในธรรมชาติและถูกสังเคราะห์
    
การตกผลึก (Crystallization)

 การเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการตกผลึก มีหลักในการเลือกดังนี้
     1. ละลายสารที่ต้องการตกผลึกในขณะร้อนได้ดี และละลายได้น้อยหรือไม่ละลายเลยที่อุณหภูมิต่ำ (ขณะเย็น)
      2. ไม่ละลายสารปนเปื้อนขณะร้อนหรือละลายได้น้อยขณะร้อน แต่ละลายได้ดีขณะเย็น
      3. ควรมีจุดเดือดต่ำ เพื่อสามารถกำจัดออกจากผลึกได้ง่าย
      4. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการตกผลึก
      5. ควรทำให้สารที่ที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์เกิดเป็นผลึกที่มีรูปร่างชัดเจน
      6. ไม่เป็นพิษ
      7. หาง่าย และราคาถูก


                3) การกลั่น  เป็นการแยกสารละสายที่เป็นของเหลวออกจากของผสม  โดยอาศัยหลักการระเหยกลายเป็นไปและควบแน่น  โดนที่สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดเปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะ  สารที่มีจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน  เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง               
3.1 การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย (simple distillation)   เป็นวิธีการ ที่ใช้กลั่นแยกสารที่ระเหยง่ายซึ่งปนอยู่กับสารที่ระเหยยาก การกลั่นธรรมดานี้จะ ใช้แยกสารออกเป็นสารบริสุทธิ์เพียงครั้งเดียวได้สารที่มีจุดเดือดต่างกัน ตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป

การกลั่นอย่างง่าย (Simple Distillation)

3.2 การกลั่นลำดับส่วน (fractional distillation) เป็นวิธีการแยกของเหลวที่สามารถระเหยได้ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป มีหลักการเช่นเดียวกันกับการกลั่นแบบธรรมดา คือเพื่อต้องการแยกองค์ประกอบในสารละลายให้ออกจากกัน แต่ก็จะมีส่วนที่แตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดา คือ การกลั่นแบบกลั่นลำดับส่วนเหมาะสำหรับใช้กลั่นของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของสารละลายที่จุดเดือดต่างกันน้อยๆ ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน จะเป็นการนำไอของแต่ละส่วนไปควบแน่น แล้วนำไปกลั่นซ้ำและควบแน่นไอเรื่อย ๆ ซึ่งเทียบได้กับเป็นการการกลั่นแบบธรรมดาหลาย ๆ ครั้งนั่นเอง ความแตกต่างของการกลั่นลำดับส่วนกับการกลั่นแบบธรรมดา จะอยู่ที่คอลัมน์ โดยคอลัมน์ของการกลั่นลำดับส่วนจะมีลักษณะเป็นชั้นซับซ้อน เป็นชั้นๆ ในขณะที่คอลัมน์แบบธรรมดาจะเป็นคอลัมน์ธรรมดา ไม่มีความซับซ้อนของคอลัมน์





ตัวอย่างการกลั่นลำดับส่วนที่เราคุ้นเคยที่สุด



3.3 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ   เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ละเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก ได้แก่การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆ ของพืชเช่นการแยกน้ำมันยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัส การแยกน้ำมันมะกรูดออกจากผิวมะกรูด  ในการกลั่นนี้ ไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำเมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่นโดยผ่านเครื่องควบแน่นก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันแต่แยกชั้นกันอยู่ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย

การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ



4) โครมาโทรกราฟี เป็นวิธีแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบของสารตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปละลายในของเหลวเดียวกัน โดยโครมาโทกราฟีจะเป็นการแยกสารผสมที่มีสีหรือสารที่สามารถทำให้เกิดสีได้ อาศัยสมบัติ 2 ประการคือ



                 

  • สารต่างชนิดกันมีความ สามารถในการละลายในตัวทำละลายได้ต่างกัน
  • สารต่างชนิดกันมีความสามารถในการถูกดูดซับด้วยตัวดูดซับได้ต่างกัน

  • หมายเหตุ  
    สารที่ละลายได้ดีจะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับไปอยู่ไกลจุดเริ่มต้น  
    สารที่ถูกดูดซับดีจะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับไปอยู่ใกล้จุดเริ่มต้น


    ต่อไปก็เริ่มทำใบงานได้แล้ว คลิกเลยค่ะ

    ใบความรู้: การแยกสาร


    การแยกสาร

    สารในธรรมชาติส่วนมากจะผสมกันอยู่ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเป็นสารผสม  ซึ่งองค์ประกอบของสารผสมจะแสดงสมบัติเดิมก่อนผสม 

                    การแยกสาร เป็นการทำให้สารบริสุทธิ์ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการแยกสารอาจเป็นวิธีทางเคมี หรือวิธีทางกายภาพ ถ้าเราต้องการแยกองค์ประกอบของสารผสมเราจะต้องทราบสมบัติของสารองค์ประกอบเพื่อจะเลือกวิธีที่เหมาะสมในการแยกสารและสามารถนำสารที่แยกได้ไปใช้ประโยชน์ได้
    การแยกสารเนื้อผสม

    สารเนื้อผสมเป็นสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอดทุกส่วน ซึ่งเราอาจเรียกว่าของผสม สามารถแยกสารที่เป็นองค์ประกอบได้หลายวิธี ทั้งวิธีทางเคมี และวิธีทางกายภาพดังนี้

    1)  การกรอง คือการทำให้ของแข็งและของเหลวแยกออกจากกันโดยใช้วัสดุต่างๆ นอกเหนือจากกระดาษกรองก็ได้ เช่น ผ้าขาวบาง

    การกรอง (Filtering)

      2) การระเหิด คือการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นแก๊สหรือไอ โดยไม่เปลี่ยนเป็นของเหลวก่อน สารที่มีสมบัติระเหิดได้ เช่น การบูร ลูกเหม็น

    การระเหิด (Sublimation)
                  
    3) การหยิบออก การใช้มือหยิบออกหรือเขี่ยออก ใช้แยกของผสมที่เนื้อของผสมมีขนาดโตพอ มีสี หรือลักษณะต่างกันพอที่จะหยิบออกหรือเขี่ยออกได้



    4) การร่อน  การใช้ตะแกรงร่อนสารผสมที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถใช้มือหยิบออกได้

    การร่อน ด้วยตะแกรงที่มีความถี่แตกต่างกัน
               
    5) การใช้แม่เหล็กดูด คือการใช้อำนาจแม่เหล็กเป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา


    การแยกสารด้วยแม่เหล็ก (Magnetic 
    6) การตกตะกอน   ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง อนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น

    การตกตะกอน (Sedimentation)

    7)   การสกัดด้วยตัวทำละลาย  เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกันวิธีหนึ่งการสกัดด้วยตัวทำละลาย อาศัยสมบัติของการละลายของสารแต่ละชนิดสารที่ต้องการสกัดต้องละลายอยู่ในตัวทำละลายซอลซ์เลต เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย การสกัดจะเป็นลักษณะการใช้ตัวทำละลายหมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลาย ๆ ครั้ง ต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งสกัดสาร ออกมาได้เพียงพอ
    การสะกัดด้วยตัวทำละลาย (Liquid Extraction)




    น้ำใบเตยสกัดด้วยวิธีไหนดีที่สุด?!
    ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสาร ควรมีสมบัติ ดังนี้
    -           ต้องละลายสารที่สารที่ต้องการจะแยกได้
    -           ไม่ละลายสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ
    -           ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการจะแยก
    -           ควรแยกออกจากสารละลายได้ง่าย
    -           ควรมีราคาถูกและหาได้ง่าย ไม่เป็นพิษ
      

    12.03.2011

    ตารางธาตุ

    ความรู้พื้นฐานในวิชาเคมีที่นักเรียนหลายคนอาจจะไม่ค่อยปลื้มนัก คือ ตารางธาตุ  เพราะเป็นเรื่องที่ต้องอาศัยความจำและการฝึกใช้งานอย่างสม่ำเสมอ   ในการจดจำตารางธาตุนั้น ไม่ได้ต้องการให้เพียงท่องว่าธาตุตัวไหน ย่อว่าอย่างไรเท่านั้น   แต่นักเรียนจะต้องรู้ให้ลึกลงไปอีกว่า สมบัติของธาตุแต่ละตัวคืออะไรด้วย

    คุณครูให้เวลา 2 สัปดาห์ในการจดจำตารางธาตุนี้  ขั้นแรกให้จำชื่อเต็มกับตัวย่อให้ได้ก่อน และออกเสียงให้ถูกต้องทั้งภาษาไทย และภาษาอังกฤษ  มีแค่ 40 ตัวเองจ้า



    1
    H
    Hydrogen
    ไฮโดรเจน
    2
    He
    Helium
    ฮีเลียม
    3
    Li
    Lithium
    ลิเทียม
    4
    Be
    Beryllium
    แบริลเลียม
    5
    B
    Boron
    โบรอน
    6
    C
    Carbon
    คาร์บอน
    7
    N
    Nitrogen
    ไนโตรเจน
    8
    O
    Oxygen
    ออกซิเจน
    9
    F
    Fluorine
    ฟลูออรีน
    10
    Ne
    Neon
    นีออน
    11
    Na
    Sodium
    โซเดียม
    12
    Mg
    Magnesium
    แมกนีเซียม
    13
    Al
    Aluminium
    อลูมิเนียม
    14
    Si
    Silicon
    ซิลิกอน
    15
    P
    Phosphorus
    ฟอสฟอรัส
    16
    S
    Sulfur
    ซัลเฟอร์
    17
    Cl
    Chlorine
    คลอรีน
    18
    Ar
    Argon
    อาร์กอน
    19
    K
    Potassium
    โพแทสเซียม
    20
    Ca
    Calcium
    แคลเซียม
    21
    Br
    Bromine
    โบรมีน
    22
    I
    Iodine
    ไอโอดีน
    23
    Cd
    Cadmium
    แคดเมียม
    24
    Pt
    Platinum
    ทองคำขาว
    25
    Sb
    Antimony
    พลวง
    26
    Bi
    Bismuth
    บิสมัท
    27
    Ni
    Nickel
    นิเกิล
    28
    Co
    Cobalt
    โคบอลต์
    29
    Mn
    Manganese
    แมงกานีส
    30
    Cr
    Chromium
    โครเมียม
    31
    Hg
    Mercury
    ปรอท
    32
    Sn
    Tin
    ดีบุก
    33
    Fe
    Iron
    เหล็ก
    34
    Cu
    Copper
    ทองแดง
    35
    Zn
    Zinc
    สังกะสี
    36
    As
    Arsenic
    สารหนู
    37
    Pb
    Lead(เลด)
    ตะกั่ว
    38
    Ag
    Silver
    เงิน
    39
    Au
    Gold
    ทอง
    40
    W
    Tungsten
    ทังสเตน