Labels

12.04.2011

ใบความรู้: การแยกสาร


การแยกสาร

สารในธรรมชาติส่วนมากจะผสมกันอยู่ตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไปเป็นสารผสม  ซึ่งองค์ประกอบของสารผสมจะแสดงสมบัติเดิมก่อนผสม 

                การแยกสาร เป็นการทำให้สารบริสุทธิ์ซึ่งกระบวนการที่ใช้ในการแยกสารอาจเป็นวิธีทางเคมี หรือวิธีทางกายภาพ ถ้าเราต้องการแยกองค์ประกอบของสารผสมเราจะต้องทราบสมบัติของสารองค์ประกอบเพื่อจะเลือกวิธีที่เหมาะสมในการแยกสารและสามารถนำสารที่แยกได้ไปใช้ประโยชน์ได้
การแยกสารเนื้อผสม

สารเนื้อผสมเป็นสารที่มองเห็นด้วยตาเปล่าไม่เป็นเนื้อเดียวกันตลอดทุกส่วน ซึ่งเราอาจเรียกว่าของผสม สามารถแยกสารที่เป็นองค์ประกอบได้หลายวิธี ทั้งวิธีทางเคมี และวิธีทางกายภาพดังนี้

1)  การกรอง คือการทำให้ของแข็งและของเหลวแยกออกจากกันโดยใช้วัสดุต่างๆ นอกเหนือจากกระดาษกรองก็ได้ เช่น ผ้าขาวบาง

การกรอง (Filtering)

  2) การระเหิด คือการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นแก๊สหรือไอ โดยไม่เปลี่ยนเป็นของเหลวก่อน สารที่มีสมบัติระเหิดได้ เช่น การบูร ลูกเหม็น

การระเหิด (Sublimation)
              
3) การหยิบออก การใช้มือหยิบออกหรือเขี่ยออก ใช้แยกของผสมที่เนื้อของผสมมีขนาดโตพอ มีสี หรือลักษณะต่างกันพอที่จะหยิบออกหรือเขี่ยออกได้



4) การร่อน  การใช้ตะแกรงร่อนสารผสมที่มีขนาดเล็ก ไม่สามารถใช้มือหยิบออกได้

การร่อน ด้วยตะแกรงที่มีความถี่แตกต่างกัน
           
5) การใช้แม่เหล็กดูด คือการใช้อำนาจแม่เหล็กเป็นวิธีที่ใช้แยกองค์ประกอบของสารเนื้อผสมซึ่งองค์ประกอบหนึ่งมีสมบัติในการถูกแม่เหล็กดูดได้เช่น ของผสมระหว่างผงเหล็กกับผงกำมะถัน โดยใช้แม่เหล็กถูไปมาบนแผ่นกระดาษที่วางทับของผสมทั้งสอง แม่เหล็กจะดูดผงเหล็กแยกออกมา


การแยกสารด้วยแม่เหล็ก (Magnetic 
6) การตกตะกอน   ใช้แยกของผสมเนื้อผสมที่เป็นของแข็งแขวนลอยอยู่ในของเหลว ทำได้โดยนำของผสมนั้นวางทิ้งไว้ให้สารแขวนลอยค่อย ๆ ตกตะกอนนอนก้น ในกรณีที่ตะกอนเบามากถ้าต้องการให้ตกตะกอนเร็วขึ้นอาจทำได้โดย ใช้สารตัวกลางให้อนุภาคของตะกอนมาเกาะ เมื่อมีมวลมากขึ้น น้ำหนักจะมากขึ้นจะตกตะกอนได้เร็วขึ้น เช่น ใช้สารส้มแกว่ง อนุภาคของสารส้มจะทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้โมเลกุลของสารที่ต้องการตกตะกอนมาเกาะ ตะกอนจะตกเร็วขึ้น

การตกตะกอน (Sedimentation)

7)   การสกัดด้วยตัวทำละลาย  เป็นวิธีทำสารให้บริสุทธิ์ หรือเป็นวิธีแยกสารออกจากกันวิธีหนึ่งการสกัดด้วยตัวทำละลาย อาศัยสมบัติของการละลายของสารแต่ละชนิดสารที่ต้องการสกัดต้องละลายอยู่ในตัวทำละลายซอลซ์เลต เป็นเครื่องมือที่ใช้ตัวทำละลายปริมาณน้อย การสกัดจะเป็นลักษณะการใช้ตัวทำละลายหมุนเวียนผ่านสารที่ต้องการสกัดหลาย ๆ ครั้ง ต่อเนื่องกันไปจนกระทั่งสกัดสาร ออกมาได้เพียงพอ
การสะกัดด้วยตัวทำละลาย (Liquid Extraction)




น้ำใบเตยสกัดด้วยวิธีไหนดีที่สุด?!
ตัวทำละลายที่เหมาะสมในการสกัดสาร ควรมีสมบัติ ดังนี้
-           ต้องละลายสารที่สารที่ต้องการจะแยกได้
-           ไม่ละลายสารอื่นๆ ที่ไม่ต้องการ
-           ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการจะแยก
-           ควรแยกออกจากสารละลายได้ง่าย
-           ควรมีราคาถูกและหาได้ง่าย ไม่เป็นพิษ
  

No comments:

Post a Comment