การแยกสารเนื้อเดียว
สารเนื้อเดียวนอกจากจะเป็นสารละลายแล้ว
อาจเป็นธาตุหรือสารประกอบก็ได้
ซึ่งมีวิธีการตรวจสอบว่าเป็นสารละลายหรือสารบริสุทธิ์ได้โดยวิธีตรวจสอบทางเคมี
และทางกายภาพ
1) การระเหยแห้ง การแยกสารด้วยวิธีนี้เหมาะสำหรับใช้แยกสารผสมที่เป็นของเหลวและมีของแข็งละลายในของเหลวนี้ จนทำให้สารผสมมีลักษณะเป็นของเหลวใส
ซึ่งเราเรียกสารผสมนี้ว่าสารละลาย เช่น น้ำทะเล น้ำเชื่อมน้ำเกลือ เป็นต้น
การแยกสารโดยวิธีการระเหยแห้งนิยมใช้ในการแยกเกลือออกจากน้ำทะเลมีการนำเกลือเพื่อแยกน้ำทะเลให้ได้เกลือสมุทรโดยวิธีการระเหยแห้ง
ทำนาเกลือ ... ใช้การแยกสารประกอบแบบไหน?! |
2) การตกผลึก คือกระบวนการเกิดผลึกของแข็งจากสารละลาย(solution)
จากของเหลว (melt) หรือไอ (vapor)โดยกระบวนการดังกล่าว
อาจเกิดขึ้นเองในธรรมชาติหรือเกิดขึ้นจากการทดลองในห้องปฏิบัติการตัวอย่างการเกิดผลึกในธรรมชาติ
เช่น ผลึกน้ำแข็ง(ice crystals) หิมะ (snow) เป็นต้น
ผลึกของสารอินทรีย์เช่น อินซูลินและน้ำตาล ผลึกของธาตุเช่น แกลเลียม และซิลิกอน
ซึ่งสามารถเกิดในธรรมชาติและถูกสังเคราะห์
การตกผลึก (Crystallization) |
การเลือกตัวทำละลายที่เหมาะสมต่อการตกผลึก
มีหลักในการเลือกดังนี้
1.
ละลายสารที่ต้องการตกผลึกในขณะร้อนได้ดี
และละลายได้น้อยหรือไม่ละลายเลยที่อุณหภูมิต่ำ (ขณะเย็น)
2. ไม่ละลายสารปนเปื้อนขณะร้อนหรือละลายได้น้อยขณะร้อน
แต่ละลายได้ดีขณะเย็น
3. ควรมีจุดเดือดต่ำ เพื่อสามารถกำจัดออกจากผลึกได้ง่าย
4. ไม่ทำปฏิกิริยากับสารที่ต้องการตกผลึก
5. ควรทำให้สารที่ที่ต้องการทำให้บริสุทธิ์เกิดเป็นผลึกที่มีรูปร่างชัดเจน
6. ไม่เป็นพิษ
7. หาง่าย และราคาถูก
3) การกลั่น เป็นการแยกสารละสายที่เป็นของเหลวออกจากของผสม โดยอาศัยหลักการระเหยกลายเป็นไปและควบแน่น
โดนที่สารบริสุทธิ์แต่ละชนิดเปลี่ยนสถานะได้ที่อุณหภูมิจำเพาะ สารที่มีจุดเดือดต่ำจะเดือดเป็นไอออกมาก่อน
เมื่อทำให้ไอของสารมีอุณหภูมิต่ำลงจะควบแน่นกลับมาเป็นของเหลวอีกครั้ง
3.1 การกลั่นแบบธรรมดาหรือการกลั่นอย่างง่าย
(simple distillation) เป็นวิธีการ ที่ใช้กลั่นแยกสารที่ระเหยง่ายซึ่งปนอยู่กับสารที่ระเหยยาก การกลั่นธรรมดานี้จะ ใช้แยกสารออกเป็นสารบริสุทธิ์เพียงครั้งเดียวได้สารที่มีจุดเดือดต่างกัน ตั้งแต่ 80 องศาเซลเซียส ขึ้นไป
การกลั่นอย่างง่าย (Simple Distillation) |
3.2 การกลั่นลำดับส่วน (fractional
distillation) เป็นวิธีการแยกของเหลวที่สามารถระเหยได้ตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไป
มีหลักการเช่นเดียวกันกับการกลั่นแบบธรรมดา
คือเพื่อต้องการแยกองค์ประกอบในสารละลายให้ออกจากกัน
แต่ก็จะมีส่วนที่แตกต่างจากการกลั่นแบบธรรมดา คือ
การกลั่นแบบกลั่นลำดับส่วนเหมาะสำหรับใช้กลั่นของเหลวที่เป็นองค์ประกอบของสารละลายที่จุดเดือดต่างกันน้อยๆ
ในขั้นตอนของกระบวนการกลั่นลำดับส่วน จะเป็นการนำไอของแต่ละส่วนไปควบแน่น
แล้วนำไปกลั่นซ้ำและควบแน่นไอเรื่อย ๆ
ซึ่งเทียบได้กับเป็นการการกลั่นแบบธรรมดาหลาย ๆ ครั้งนั่นเอง
ความแตกต่างของการกลั่นลำดับส่วนกับการกลั่นแบบธรรมดา จะอยู่ที่คอลัมน์
โดยคอลัมน์ของการกลั่นลำดับส่วนจะมีลักษณะเป็นชั้นซับซ้อน เป็นชั้นๆ
ในขณะที่คอลัมน์แบบธรรมดาจะเป็นคอลัมน์ธรรมดา ไม่มีความซับซ้อนของคอลัมน์
ตัวอย่างการกลั่นลำดับส่วนที่เราคุ้นเคยที่สุด |
3.3 การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ เป็นวิธีการสกัดสารออกจากของผสมโดยใช้ไอน้ำเป็นตัวทำละลาย วิธีนี้ใช้สำหรับแยกสารที่ละเหยง่าย ไม่ละลายน้ำ และไม่ทำปฏิกิริยากับน้ำ ออกจากสารที่ระเหยยาก ได้แก่การแยกน้ำมันหอมระเหยออกจากส่วนต่างๆ ของพืชเช่นการแยกน้ำมันยูคาลิปตัสออกจากใบยูคาลิปตัส การแยกน้ำมันมะกรูดออกจากผิวมะกรูด ในการกลั่นนี้ ไอน้ำจะไปทำให้น้ำมันหอมระเหยกลายเป็นไอแยกออกมาพร้อมกับไอน้ำเมื่อทำให้ไอของของผสมควบแน่นโดยผ่านเครื่องควบแน่นก็จะได้น้ำและน้ำมันหอมระเหยปนกันแต่แยกชั้นกันอยู่ทำให้สามารถแยกเอาน้ำมันหอมระเหยออกจากน้ำได้ง่าย
การสกัดโดยการกลั่นด้วยไอน้ำ |
4) โครมาโทรกราฟี เป็นวิธีแยกองค์ประกอบของสารเนื้อเดียวที่มีองค์ประกอบของสารตั้งแต่
2 ชนิดขึ้นไปละลายในของเหลวเดียวกัน
โดยโครมาโทกราฟีจะเป็นการแยกสารผสมที่มีสีหรือสารที่สามารถทำให้เกิดสีได้
อาศัยสมบัติ 2 ประการคือ
หมายเหตุ
สารที่ละลายได้ดีจะเคลื่อนที่บนตัวดูดซับไปอยู่ไกลจุดเริ่มต้น
No comments:
Post a Comment