Labels

11.20.2011

ชั้น 10 อ่านนิทานเวตาล


ใบความรู้ที่ ๑  สังเขปนิทานเวตาล

นิทานเวตาล

เวตาลเป็นที่นิยมมาก จึงมีผู้ผลิตหลาย version
นิทานเวตาล (สันสกฤต: वेतालपञ्चविंशति เวตาลปัญจวิงศติ แปลว่า นิทานเวตาล ๒๕ เรื่อง) เป็นวรรณกรรมสันสกฤตโบราณ ซึ่งเล่าขานโดยกวีชื่อ ศิวทาส และได้ถูกเล่าขานกันต่อมากว่า ,๕๐๐ ปีล่วงมาแล้ว นิทานเวตาลเป็นหนึ่งในหนังสือดี ๑๐๐ เล่มที่คนไทยควรอ่าน  

โครงเรื่องหลักของนิทานเรื่องนี้เป็นเรื่องการโต้ตอบตอบปัญหาระหว่างพระวิกรมาทิตย์ กษัตริย์แห่งกรุงอุชชิยนี กับเวตาล ปีศาจที่มีร่างกายกึ่งมนุษย์กับค้างคาว ซึ่งจะนำเข้าไปสู่นิทานย่อยต่างๆ ที่แทรกอยู่ในเรื่องนี้รวม ๒๕ เรื่อง ลักษณะดังกล่าวคล้ายกับนิทานอาหรับราตรี หรือ "พันหนึ่งราตรี" ซึ่งเป็นนิทานชุดในซีกโลกอาหรับที่ได้รับความนิยมอย่างมากอีกชุดหนึ่ง

ภาพจากhttp://www.thaigoodview.com/node/90130
โครงเรื่องมีดังนี้ พระวิกรมาทิตย์หรือพระวิกรมเสน กษัตริย์ในตำนานของอินเดียโบราณ ได้รับปากกับโยคีชื่อ "ศานติศีล" จะไปนำตัวเวตาล อมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายศพมนุษย์ผสมค้างคาว ซึ่งห้อยหัวอยู่กับต้นอโศก มาให้แก่ฤๅษีเพื่อใช้ในพิธีบูชาเจ้าแม่กาลี โดยมีพระธรรมธวัชผู้เป็นโอรสติดตามไปด้วย เมื่อพระองค์จับตัวเวตาลได้แล้ว เวตาลก็จะพยายามยั่วให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสออกมาอย่างใดอย่างหนึ่งอยู่เสมอ โดยการการเล่านิทานอุทาหรณ์ต่างๆ แล้วให้พระวิกรมาทิตย์ตัดสินเรื่องราวในนิทานเหล่านั้น ด้วยขัตติยะมานะของกษัตริย์ทำให้พระวิกรมาทิตย์อดไม่ได้ที่จะตรัสพระราชวิจารณ์เกี่ยวเรื่องราวในนิทานอยู่เสมอ ผลก็คือเวตาลได้ลอยกลับไปอยู่ที่ต้นอโศกอันเป็นที่อยู่ของตน ทำให้พระวิกรมาทิตย์จำต้องกลับไปจับเอาเวตาลกลับมาใหม่ทุกครั้ง เป็นเช่นนี้อยู่ถึง ๒๔ ครั้ง ในครั้งที่ ๒๕ พระธรรมธวัชได้สะกิดเตือนมิให้พระวิกรมาทิตย์ตรัสคำใดๆ ออกมา พระวิกรมาทิตย์ก็ระงับใจไม่เอื้อนพระโอษฐ์ตรัสพระกระแสใดๆ ออกมา เวตาลจึงยอมให้พระองค์พาตนไปให้โยคีศานติศีลนั้นได้

ส่วนท้ายเรื่องของนิทานเวตาลมีอยู่ว่า ระหว่างทางที่พระวิกรมาทิตย์พาเวตาลไปหาโยคีนั้นเอง เวตาลก็ได้เปิดเผยว่าแท้จริงแล้วโยคีศานติศีลมีความแค้นกับพระวิกรมาทิตย์อยู่ ซึ่งเป็นความแค้นที่ก่อโดยพระบิดาของพระวิกรมาทิตย์ จึงมุ่งหวังที่จะปลงพระชนม์ของพระองค์เสีย พร้อมกันนี้เวตาลก็แนะนำให้พระองค์ทำเป็นเชื่อฟังคำของโยคีนั้นแล้วหาทางฆ่าเสีย พระวิกรมาทิตย์ก็ได้ทำตามคำแนะนำดังกล่าว และรอดพ้นจากการทำร้ายของโยคีนั้นได้

ลักษณะของนิทานเวตาลเป็นแบบ นิทานซ้อนนิทาน ซึ่งเป็นธรรมเนียมนิยมในการแต่งนิทานของทางอนุทวีปและอาหรับ โดยมีเรื่องหลัก และแทรกการเล่านิทานย่อยลงไปเพื่อให้ผู้อ่านมีส่วนร่วมในการตัดสินกับนิทานเรื่องนั้น ในนิทานเวตาลนี้ มีนิทานแทรกนิทานในเรื่องเวตาลทั้ง ๒๕ เรื่องโดยสรุปมีดังนี้

เรื่องที่ เรื่องของเจ้าชายวัชรมกุฏ กับพระสหายชื่อ พุทธิศรีระ
เรื่องที่ เรื่องของนางมันทารวดี กับ พราหมณ์หนุ่ม คน
เรื่องที่ เรื่องของนกแก้วชื่อวิทัคธจูฑามณีของพระเจ้าวิกรมเกศริน กับนกขุนทองชื่อ โสมิกา
ของเจ้าหญิงจันทรประภา
เรื่องที่ เรื่องของพระเจ้าศูทรกะ กับพราหมณ์ผู้ซื่อสัตย์ชื่อ วีรวร
เรื่องที่ เรื่องของนางโสมประภา กับการเลือกคู่ครอง
เรื่องที่ เรื่องของวันฉลองพระแม่เคารี
เรื่องที่ เรื่องของพระเจ้าจัณฑสิงห์ กับสัตตวศีล ผู้ซื่อสัตย์
เรื่องที่ เรื่องของบุตรทั้ง ของพราหมณ์วิษณุสวามิน
เรื่องที่ เรื่องของการเลือกคู่ของเจ้าหญิงอนงครตี
เรื่องที่ ๑๐ เรื่องของนางมัทนเสนา ผู้ซื่อสัตย์
เรื่องที่ ๑๑ เรื่องของชายาทั้ง ของพระเจ้าธรรมธวัช
เรื่องที่ ๑๒ เรื่องของพระเจ้ายศเกตุ กับทีรฆทรรศิน ผู้ภักดี
เรื่องที่ ๑๓ เรื่องของพราหมณ์ชื่อ หริสวามิน ผู้อาภัพ
เรื่องที่ ๑๔ เรื่องของนางรัตนาวดี บุตรีเศรษฐี ผู้หลงรักโจร
เรื่องที่ ๑๕ เรื่องของความรักของเจ้าหญิง ศศิประภา
เรื่องที่ ๑๖ เรื่องของเจ้าชาย ชีมูตวาหน กับนาคชื่อ ศังขจูฑะ
เรื่องที่ ๑๗ เรื่องของพระเจ้ายโศธน กับ นางอุนมาทินี บุตรีเศรษฐี
เรื่องที่ ๑๘ เรื่องของพราหมณ์จันทรสวามิน กับฤๅษีปาศุบต
เรื่องที่ ๑๙ เรื่องของภรรยาเศรษฐี กับธิดาชื่อ ธนวดี
เรื่องที่ ๒๐ เรื่องของพระเจ้าจันทราวโลก กับรากษส
เรื่องที่ ๒๑ เรื่องของนางอนงคมัญชรี
เรื่องที่ ๒๒ เรื่องของบุตรพราหมณ์ทั้ง ผู้ขมังเวทย์
เรื่องที่ ๒๓ เรื่องของฤๅษีเฒ่า วามศิวะ ผู้อยากเป็นหนุ่ม
เรื่องที่ ๒๔ เรื่องของนางจันทรวดี กับธิดาชื่อ ลาวัณยวดี กับเรื่องขนาดเท้าของนาง
เรื่องที่ ๒๕ เรื่องของพระเจ้าติรวิกรมเสน กับเวตาล

ในภาคภาษาไทยนิทานเรื่องเวตาลนี้ เดิมได้เรียบเรียงเป็นร้อยกรอง ชื่อ ลิลิตเพชรมงกุฎ โดยเจ้าพระยาพระคลัง (หน) แต่ถอดมาเพียงเรื่องแรกเท่านั้น (เรื่องพระวัชรมกุฎกับพุทธิศรีระ) ภายหลังพระราชวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้ารัชนีแจ่มจรัส กรมหมื่นพิทยาลงกรณ์ หรือ น.ม.ส. ได้ทรงแปลจากฉบับที่แปลเป็นภาษาอังกฤษของริชาร์ด ฟรานซิส เบอร์ตัน จำนวน เรื่อง และจากสำนวนแปลของ ซี.เอช. ทอว์นีย์ อีก เรื่อง ทำให้ฉบับภาษาไทยของ น.ม.ส. มีนิทานเวตาลทั้งหมด ๑๐ เรื่อง

หน้าปกฉบับดั้งเดิม 10 ตอนที่นักเรียนต้องอ่าน
ต่อมา ศาสตราจารย์ ดร.ศักดิ์ศรี แย้มนัดดา ได้แปลจากต้นฉบับเดิม ซึ่งเป็นอักษรเทวนาครี ภาษาสันสกฤต จนครบ ๒๕ เรื่อง และภายหลังวรรณกรรมเรื่องนี้ก็ได้รับการแปลแปลงในหลากหลายรูปแบบ เช่น รูปแบบการ์ตูนคอมมิคชื่อ "เวตาล" ซึ่งเป็นผลงานของ ภาณุ นทีนันท์ เพื่อให้เป็นที่รู้จักมากขึ้นในวงกว้าง จนกระทั่งเวตาลได้กลายเป็นอีกหนึ่งตัวละครที่คนไทยรู้จักกันเป็นอย่างดี

ให้นักเรียนอ่านนิทานเวตาลของน.ม.ส. (10 ตอน) เริ่มตั้งแต่เรื่องที่ 1 เรื่อยมาจนจบ 10 ตอน  นักเรียนสามารถจะหาซื้อหนังสือมาอ่าน  หรือจะเข้าไปอ่านทางอินเตอร์เนท ได้หลายเวบไซท์  แต่ที่คุณครูแนะนำคือ http://olddreamz.com/bookshelf/vetal/vetala.html  เวปไซต์นี้ บรรจุเนื้อหานิทานเวตาลสำนวน น.ม.ส.ทั้ง ๑๐ เรื่อง  และยังสามารถ link ไปยังต้นฉบับภาษาอังกฤษได้อีกด้วย
 
(ข้อมูลพื้นฐานนี้อ้างอิงจาก วิกิพีเดีย และเป็นเพียงข้อมูลที่จะช่วยให้นักเรียนเห็นเค้าโครงเพื่อให้ง่ายขึ้นตอนที่นักเรียนได้อ่านฉบับเต็ม)

เมื่ออ่านจบแต่ละตอน  ให้นักเรียนทำการบันทึกเป็นรายตอน ตามหัวข้อนี้ให้เสร็จก่อนวันที่ 6 ธันวาคม 2554
  1. ระบุคำศัพท์ใหม่ๆ ที่นักเรียนไม่เข้าใจ ทั้งความหมาย และการนำคำศัพท์นี้ไปใช้ในนิทานเวตาล
  2. พระวิกรมาทิตย์มีแนวทางในการวิเคราะห์ปัญหา หรือท่านให้ความเห็นอย่างไร กับเรื่องที่เวตาลเล่า
  3. คำพูดประโยคใดบ้างที่นักเรียนชอบ ให้เขียนได้มากกว่า 1 ประโยค
  4. นักเรียนได้บทเรียนใหม่ หรือมุมมองใหม่ๆ บ้างจากการอ่าน
  5. มีบทเรียน ข้อคิด ประโยค สำนวน หรือ ฯลฯ ที่นักเรียนจะนำไปใช้ได้บ้าง
และเมื่อเสร็จเรียบร้อยแล้ว  ให้ตอบคำถาม 2 ข้อ ดังนี้
1) "น.ม.ส. คือใคร" (ชื่ออะไร ประวัติความเป็นมา  มีผลงานอะไรบ้าง และอะไรน่าจะเป็นแรงบันดาลใจให้ท่านแปล นิทานเวตาล  โดยเปรียบเทียบกับลักษณะงานชิ้นต่างๆ ที่ท่านได้นิพนธ์)
2) วาดรูป "เวตาล" ตามจินตนาการของนักเรียนเอง  เป็นงานลายเส้น หรือจะระบายสีด้วยก็ได้  งานชิ้นนี้ นำมาส่งในวันที่ 6 ธันวาคม 2554

หากมีคำถามสามารถ e-mail ถึงแม่ต้น dhon63@gmail.com ได้ แล้วจะส่งต่อไปให้คุณครูอัญต่อไป

No comments:

Post a Comment