ใบความรู้ที่
๑ เรื่อง นิทานพื้นบ้านพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน
นิทาน
หมายถึง เรื่องราวที่เล่าสืบต่อกันมาจากปากต่อปาก ผ่านยุคหนึ่งสู่อีกยุคหนึ่ง
ผ่านคนรุ่นหนึ่งสู่อีกรุ่นหนึ่ง จนถือเป็นมรดกทางวัฒนธรรม เรื่องที่เล่านี้อาจจะเรียก
"นิทานพื้นบ้าน" หรือ "นิทานชาวบ้าน"
หลักสังเกตนิทานพื้นบ้าน มีดังนี้
๑.
เป็นเรื่องเล่าด้วยถ้อยคำธรรมดา
มีลักษณะเป็นร้อยเเก้ว
๒.
เล่าด้วยปากสืบต่อกันมา
แต่ในระยะหลังมีการเขียนบันทึกตามเค้าเรื่องที่เคยเล่
๓.
นิทานพื้นบ้านมักจะไม่ปรากฏผู้เล่าดั้งเดิมว่าเป็นใคร
ประโยชน์ของการศึกษานิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้านได้รับความสนใจจากคนรุ่นใหม่น้อยมาก
อาจเพราะเห็นว่าเป็นเรื่องล้าหลังไม่ทันสมัย เนื่องจากมีสิ่งบันเทิงในรูปแบบต่าง ๆ
ที่รวดเร็วสะดวกสบายกว่า เช่น วิทยุ โทรทัศน์ ภาพยนตร์ เป็นต้น
อาจทำให้มองไม่เห็นคุณค่าของภูมิปัญญาพื้นบ้านของไทยที่มีส่วนจรรโลงสังคมไทยให้อยู่รอดมาได้จนถึงทุกวันนี้
เพราะนิทานพื้นบ้านนั้น
นอกจากจะให้ความบันเทิงใจ แล้วยังช่วยให้ความรู้เชิงประวัติศาสตร์ แบบแผนสังคม ประเพณี พิธีกรรม ศาสนา และบทเรียนทางคุณธรรมจริยธรรมแก่ผู้ฟังเพราะใช้หลักธรรมเป็นเเนวคิดสำคัญ รวมทั้งสร้างความผูกพัน ความรัก ความเข้าใจระหว่างบุคคล และเครือญาติอีกด้วย
เนื้อหาของนิทานพื้นบ้านไทย
เนื้อหาของนิทานพื้นบ้านทุกภาค
มักจะมีลักษณะร่วมกันอยู่มาก ได้แก่ อุปนิสัยของตัวเอกที่จะยึดมั่นในคุณธรรม
มีความประพฤติอันดีงาม
ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยใช้นิทานพื้นบ้านเป็นสื่อในการสอนจริยธรรม
และแบบแผนสังคม
๑. ลักษณะของเนื้อเรื่องที่นิยมเล่าต่อกันมา
๑.๑.
พระราชามีพระมเหสี ๒ พระองค์ -
มเหสีเอกและพระโอรสถูกกลั่นเเกล้ง – ถูกเนรเทศ
๑.๒.
พระโอรสรอดพ้นจากอุปสรรค หรือภัยพิบัติ
๑.๓. พระโอรสเดินทางกลับบ้านเมือง - ประสบเหตุการณ์ต่าง
ๆ – ได้ครองเมือง
๑.๔.
พระโอรสกลับไปบ้านเกิดเมืองนอน -
บ้านเมืองเกิดยุคเข็ญพระโอรสเข้าปราบ – พระบิดาสั่งประหารพวกที่คิดร้าย
๑.๕.
พระโอรสได้ครองเมือง
๒. ตัวละคร และฉาก
๒.๑.
ตัวละครในนิทานพื้นบ้านมักจะมีบุคลิกคล้ายกัน
ตัวเอกของเรื่องมีบุญญาธิการหรือเป็นพระโพธิสัตว์เสวยชาติมาเพื่อบำเพ็ญบารมีเกิดมาพร้อมกับของวิเศษ หรือความสามารถพิเศษ
๒.๒.
ตัวประกอบอื่นๆ เช่น พระบิดา
พระมารดา เสนา อำมาตย์ เทวดา ยักษ์ ซึ่งจะเป็นตัวเสริมตัวละครเอกให้โดดเด่นยิ่งขึ้น
๒.๓.
ตัวประกอบฝ่ายอธรรม เช่น
มารดาเลี้ยง โหร เสนา อำมาตย์ ยักษ์ มีบทบาทเป็นศัตรูกับพระเอกหรือนางเอกในตอนต้นเรื่อง
ทำให้ต้องตกระกำลำบาก แต่เเล้วพระเอกหรือนางเอกก็เอาชนะอุปสรรค ส่วนฝ่ายอธรรมก็ได้รับโทษ
๒.๔.
มักนิยมพรรณาฉากในเรื่องอย่างวิจิตร
เช่น เมืองมนุษย์ เมืองยักษ์ ป่าหิมพานต์ สวรรค์ เมืองบาดาล เพื่อให้เห็นอิทธิฤทธิ์ของตัวเอกในการผจญภัย
ประเภทของนิทานพื้นบ้าน
นิทานพื้นบ้าน เเบ่งเป็น ๗ ประเภท ดังนี้
๑. นิทานมหัศจรรย์ นิทานจักร ๆ วงศ์ ๆ เนื้อหาจะมีการเผชิญโชคในดินแดนมหัศจรรย์ของตัวเอก
และมีการปราบอธรรมให้สังคมมีสันติสุข
๒. นิทานวีรบุรุษ นิทานที่มีโครงเรื่องตามเเนวปาฏิหาริย์
แต่ได้อ้างอิงชื่อบุคคลในประวัติศาสตร์ หรือบุคคลสำคัญต่าง ๆ
๓. นิทานประจำถิ่น อธิบายความเป็นมาของท้องถิ่นต่างๆ มักมีปาฏิหาริย์ปรากฏด้วย
๔. นิทานอธิบายเหตุผล นิทานที่อธิบายเรื่องต่าง ๆ ตามความเชื่อ
และทัศนะของคนไทย
๕. เทพนิยาย นิทานที่เล่าความเป็นมาของโลกตามทัศนะ และความเชื่อ
๖. นิทานสอนใจ หรือนิทานคติธรรม นิทานที่ยึดคุณธรรม จริยธรรม ความกตัญญู
ความซื่อสัตย์ของตัวเอกโดยมักนำเค้าเรื่องมาจากชาดก
๗. นิทานมุขตลก นิทานที่มุ่งให้ความขบขันแก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน
No comments:
Post a Comment