เมื่อหลายปีก่อน แม่ต้นได้ไปเข้า workshop ของคุณ Steven Covey ตั้งแต่สมัยที่เขายังไม่ได้ดังมากนัก เพื่อฝึกทักษะ 7 Habits (ซึ่งวันนี้งอกมาเป็น 8 และ 9 Habits แล้วมั้ง) เป็นครั้งแรกที่เรียนวิธีการนำเสนอ 3 นาที ซึ่งยากมากๆๆ แต่ก็เป็นทักษะหนึ่งที่ได้ใช้ทำมาหากินมาตลอดชีวิตการเป็นที่ปรึกษา ข้อดีของการทำ presentation ให้สั้นก็คือ เราเข้าถึงประเด็นที่ต้องการสื่อให้ชัดๆ เพื่อจะเหลือเวลาสำหรับการตอบคำถาม และอภิปราย เป็นการสื่อสาร 2 ทาง
เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา มีแนวคิดในเรื่องการนำเสนอด้วย powerpoint presentation ที่สั้นกระชับ มีกฎเกณฑ์เป็นที่รู้จัก และยอมรับกันมากขึ้นเรื่อยๆ จะเอามาเล่าให้ฟัง 3 แบบ
ตัวอย่างการนำเสนอแบบเพทัชก้า คลิกที่นี่ ดูเสร็จแล้ว ทำ worksheet for G.7 & 8 |
- Pecha-Kucha ที่จริงต้องออกเสียงว่า เพทัชก้า ไม่ใช่ เพชา-คุทชา ไม่อยากเชื่อว่าเป็นภาษาญี่ปุ่นที่แปลว่า chit-chat หรือ"คุยกัน" การนำเสนอ style นี้ กำหนดให้ใช้ 20 slide แ่ต่ละ slide ใช้เวลา 20 วินาที เมื่อรวมกันแล้วก็จะใช้เวลาในการนำเสนอ 6 นาที 40 วินาที เพทัชก้าริเริ่มจากกลุ่มสถาปนิกฝรั่งที่เขาชอบรวมตัวกันมานำเสนอไอเดีย ทีนี้ ไอเดียใหม่ๆ มีมากมาย ก็เลยต้องจำกัดการพูดด้วยกฎอย่างนี้ ตอนนี้มีกลุ่ม Pecha-Kutcha อยู่ไม่น้อยกว่า 80 ประเทศแล้ว
- Ignite: ที่แปลว่า "ติดเครื่อง" ก็มีแนวคิดคล้ายกับเพทัชก้า คือไม่เกิน 20 slide แต่จำกัดเวลาให้แน่นขึ้นไปอีก เพราะเขาบอกวา 20 วินาทีต่อ slide เนี่ยยาวไป กระชับลงมาได้ถึง 15 วินาทีต่อสไลด์ ดังนั้น 20 slide x 15 วินาที ก็จะใช้เวลาประมาณ 5 นาที ก็จบการนำเสนอได้
- Kamishibai: อันนี้ฟังดูก็รู้เลยว่า เป็นญี่ปุ่น ต่างกับ 2 แบบแรกตรงที่เขาให้ ภาพประกอบเป็นพระเอกคู่ในการ "เล่าเรื่อง" เป็นภาพที่ไม่มีคำพูดหรือใช้คำน้อยมาก เรียบง่าย ไม่ใส่รายละเอียดมากนัก เรียงภาพตามเรื่องที่เล่า ผู้เล่าใช้ความสามารถในการเล่าเรื่องโดยสอดแทรกอารมณ์ คำพูด น้ำเสียง ท่าทาง เืพื่อให้คนฟังติดตามแบบตาไม่กระพริบจึงต้องสื่อสารกับผู้ฟังตลอดเวลา การนำเสนอก็ยืดหยุ่นนิดหน่อยประมาณ 10 นาที อ่าน Kamishibai เพิ่มเติมที่นี่ค่ะ
Upside of Fear: ตัวอย่างการนำเสนอแบบ "ติดเครื่อง" คลิกที่นี่ ดูเสร็จแล้ว ทำ worksheet for G.9 & 10 |
อีกอย่างหนึ่งคือ ต้องมีความสามารถในการสื่อสารด้วยภาพ ไม่ใช่หยิบอะไรมาก็แปะลงไป ภาพเหล่านี้ หรือแต่ละ slide มีคำน้อยมากๆ ดังนั้นผู้นำเสนอจึงต้องเลือกสรรภาพที่ช่วยให้การเล่าเรื่องสร้างความเข้าใจ และเกิดอารมณ์ตามที่ผู้นำเสนอต้องการ
การนำเสนอแบบ Ignite หรือ Pecha-Kucha บางรายการเขาจะทำ slide ต่อเนื่องไปเลย โดยที่ผู้นำเสนอไม่มีโอกาสได้กดเลื่อน slide ด้วยซ้ำ นี่หมายความว่า ก่อนจะนำเสนอ ต้องซ้อมมาอย่างดีเพื่อให้ได้เวลาตามแผนเป๊ะ นี่ทำให้เขาคุมเวลาได้ จะเป็น 6 นาที 40 วินาทีหรือ 5 นาทีก็แล้วแต่ ถ้าดูตัวอย่างก็จะเห็นเลยว่า การวางแผนการนำเสนอสำคัญมากที่สุด ไปดูเบื้องหลังการเตรียมการก็จะเห็นว่า สิ่งที่ผู้นำเสนอต้องทำคือ
- ทำประเด็นที่จะนำเสนอให้ชัด รู้ให้จริงในเรื่องที่จะพูด แล้วเลือกประเด็นที่เจ๋งที่สุดเท่านั้น ส่วนที่เป็นน้ำจิ้ม เวิ่นเว้อเอาออกไปก่อน
- เรียงร้อยเรื่องเล่า -- อย่าลืมว่า การนำเสนอก็เหมือนการเล่าเรื่องให้คนฟังเข้าใจความคิดของเรา ใครจะเข้าใจได้ เขาต้องรู้ที่มาที่ไปว่า ทำไมเราจึงเห็นว่า เรื่องนี้สำคัญ การเรียงเรื่องต้องเริ่มด้วยการเรียกความสนใจของคนฟังก่อน แล้วเนื้อหาสาระร้อยเรียงกัน จนจบได้อย่างจับใจ ก็จะทำให้ผู้ฟังรู้สึกว่า การเสียเวลามาฟังเราพูดนี้คุ้มค่าจริงๆ เสียเหลือเกิน ตรงนี้ การใช้ diagram, กระดาษการ์ด หรือกระดาษ post-it มาช่วยเตรียมการนำเสนอจะช่วยให้เราร้อยเรียงเรื่องราวได้ดี
- เลือกภาพ ภาพที่ดีต้องไม่ "ขโมยซีน" ผู้พูด อย่าลืมว่า เรายังเป็นตัวเอกของการนำเสนอ ผู้ฟังต้องไม่ไปเพ่งอยู่ที่ภาพ แค่ชำเลืองตามองภาพเพื่อให้เข้าใจเราชัดเจนขึ้น และได้อารมณ์ ถ้าไม่มีผู้พูด slide ชุดนี้ก็ไม่มีความหมายเท่าไหร่ ดังนั้นจึงไม่มีใครมาขอก๊อปปี้slide ของเราหลังนำเสนอแน่ๆ (ยังแถมไวรัสใส่เครื่องเราไว้ซะอีก หุหุ)
- ซ้อมหนัก -- เรียงเรื่องแล้ว มีภาพประกอบแล้ว ก็ถึงเวลาต้องซ้อมนำเสนอ อันดับแรกคือ ทำให้พูดจบได้ในเวลาที่กำหนด ซึ่งคงต้องมีบทหรือ script ที่เขียนเอง ซึ่งลงเวลาเป๊ะ ต่อมาก็ใส่ภาพไปตาม script แต่ละภาพมีเวลาเป็นกรอบคือประมาณ 15-20 วินาที ยาวกว่านี้ถือว่าไม่ผ่านผู้นำเสนอที่ประสบความสำเร็จต้องซ้อมหนักมากจะได้นำเสนออย่างเป็นธรรมชาติ เมื่อขึ้นเวทีแล้ว ไม่มีโอกาสสำหรับความผิดพลาด เนื่องจากเวลาจำกัด slide ก็เดินไปตามที่เราเตรียมไว้ คนฟังเขาก็จะอึดอัดถ้าเราพูดเกินเวลา
นำเสนองานชื่นใจฯ คราวนี้ เราลองปรับแนวการนำเสนอแบบนี้มาใช้กันดูมั้ย?! น่าจะยืดหยุ่นเวลาให้อีกนิดหน่อย ;)
ใครสนใจ แนะนำให้อ่านหรือดูเพิ่มเติมได้จาก website นี้นะคะ
Tips for Pecha-Kucha & Ignite
แนะนำให้เข้าไปใน youtube.com แล้วพิมพ์คำว่า Pecha-Kutcha, Ignite และ Kamishibai เพราะมีตัวอย่างให้ดูเยอะเลยค่ะ
Students of Grade 9 and 10: Click here for your assignment
Students of Grade 7 and 8: Click here for your assignment
No comments:
Post a Comment