Labels

9.25.2019

สวรรค์ (หรือพ่อแม่) สาปให้หนูเป็นอัจฉริยะ? (ตอน 4)

มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งที่ติดตามเด็กนักเรียนโรงเรียนประถม Hunter College  โรงเรียนนี้ตั้งขึ้นมาเป็นโรงเรียนแนวสาธิตของ Hunter College ประมาณคณะครุศาสตร์ ของ City University of New York (CUNY) เมื่อเกือบ 100 ปีก่อน เพื่อจะสร้างเยาวชนที่จะเป็นมันสมองของประเทศสหรัฐฯ  รับเฉพาะเด็กที่มี IQ 155 ขึ้นไปเท่านั้น!!!

Related image

นักเรียน Hunter College กำลังเรียนวิชาเคมี ปี 1940  ภาพโดย Nina Leen จากนิตยสาร Life  (credit dailymail.co.uk)
30 ปีผ่านไปพบว่า  เด็กจากโรงเรียนนี้มีอาชีพที่ดี ปรับตัวได้  มีความสุข บางคนก็จบปริญญาหลายใบ ฟังดูดีมาก  แต่น่าผิดหวังที่การลงทุนกับเด็กฉลาดล้ำเหล่านี้จำนวนมาก แต่มีเพียงไม่กี่คนได้รางวัลอันทรงเกียรติ อย่างรางวัล โนเบล หรือ พูลิตเซอร์  
หรือว่า  “เด็กอัจฉริยะอาจไม่ต้องลงเอยที่การเป็นผู้ใหญ่อัจฉริยะ”

มีผู้ใหญ่ยอดอัจฉริยะ ที่ไม่ได้เป็นเด็กอัจฉริยะบ้างหรือไม่?  
ขอบอกว่า เยอะ!!!! จะให้ใส่ชื่อมาก็คงต้องกระดาษ 1 รีม ยกตัวอย่างคนดังจากหลายยุคหลายสมัย เช่น ลีโอนาโด ดาวินชี่ เจ้าพ่อ Coding ตลอดกาล, บาค ผู้นำทางดนตรีแห่งยุคโดยไม่รู้ตัว, เซอร์ไอแซค นิวตัน เจ้าของทฤษฎีแรงโน้มถ่วงที่เป็นพื้นฐานวิชาฟิสิกส์, โคเปอร์นิคุส ผู้ยืนยันว่า โลกนี้ไม่ใช่ศูนย์กลางของจักรวาล ยังมี นักวิทยาศาสตร์  นักสังคมศาสตร์  นักเขียน นักดนตรี ศิลปิน นักสำรวจ เกษตรกร  สถาปนิก  แพทย์ ฯลฯ อีกมากมายที่ในวัยเด็กจะไม่มีทางถูกยกให้เป็น “เด็กอัจฉริยะ”
มีงานวิจัยหนึ่งที่ยืนยันมุมมองนี้เช่นกัน โดยไปศึกษาคนที่ประสบความสำเร็จในปัจจุบัน 200 คน แล้วย้อนกลับไปดูว่าตอนเด็ก ๆ เป็นอย่างไร  พบว่ามีเพียง 34 คนที่เคยได้ชื่อว่าเป็น “เด็กฉลาดกว่าวัย” (precocious) ถ้าคิดเป็นเปอร์เซ็นต์จากข้อมูลนี้  เราก็เห็นตัวเลขว่า 83% ของคนที่ประสบความสำเร็จกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นเด็กอัจฉริยะ 
แต่ขณะเดียวกัน เด็กอัจฉริยะจำนวนมากกลับไปไม่ถึงฝัน เพราะอะไร?
ตอนต่อไป มาพบกับเด็กอัจฉริยะอีกหลายคน ว่าพวกเขาใช้ชีวิตเมื่อเป็นผู้ใหญ่อย่างไร?  
(บทความนี้ เสนอใน page ศกร.นวัตกรรมเพื่อความสุข เมื่อเดือน ก.ย.2019)

No comments:

Post a Comment