Labels

9.25.2019

สวรรค์ (หรือพ่อแม่) สาปให้หนูเป็นอัจฉริยะ? (ตอน 1)



หนึ่งในความฝันของพ่อแม่ยุคนี้ หลังจากรอดพ้นเรื่อง “ความไม่ปกติ” ใดๆแล้ว  หลายคนก็มีความหวังว่าลูกเราจะเป็นเด็กฉลาด เป็นอัจฉริยะ เป็นจีเนียส  ความหวังนี้อาจทำให้เกิดความตื่นเต้นที่ลูกเรียนรู้บางสิ่งได้ด้วยตัวเอง หรือเริ่มเห็น “พรสวรรค์” บางอย่างแล้วไม่อยากให้เสียของ จึงต้องการส่งเสริมให้ไปถึงศักยภาพสูงสุดของลูก
แต่เคยรู้บ้างไหมว่า คำว่า “อัจฉริยะ” อาจจะกลายเป็นคำสาปสำหรับลูกหรือ ความเป็น “จีเนียส”นั้นอาจไม่ได้ทำให้ชีวิตของลูกประสบความสำเร็จอย่างที่ฝันกันไว้
สมัยที่ยังใช้ชีวิตเป็น “นักมานุษยวิทยา” เมื่อหลายปีก่อน  ได้มีโอกาสศึกษาเด็กที่จัดว่าเป็นอัจฉริยะ ซึ่งอาจใช้คำว่า prodigy, genius, talented หรือ gifted จริงๆ (แต่ละคำมีความแตกต่างกันนิดหน่อย เช่น คำว่า Genius มีรากศัพท์ที่หมายถึงการสร้างสรรค์ด้วย ภาษาไทยก็ใช้คำว่า ปัญญาเลิศ อัจฉริยะ ความสามารถพิเศษ จีเนียส) ยังจำวลีหนึ่งที่กระแทกใจจากผู้ที่เคยเป็นเด็กอัจฉริยะคนหนึ่ง เขาบอกว่า
Prodigy is a Curse (อัจฉริยภาพคือคำสาป)” 
เขาอธิบายว่า เด็กอัจฉริยะก็เป็นคนธรรมดาที่ต้องเผชิญหน้ากับความท้าทายที่ต่างจากคนอื่น โดยเฉพาะ ความคาดหวังที่ไม่เป็นจริง ซึ่งทำให้เขารู้สึกแปลกแยก และไม่มีความสุข
 และนี้คือเหตุผลสำคัญที่ทำให้ต้องมาตั้งคำถามหลายๆ ข้อ กับพ่อแม่ที่มาถามว่า ทำไงดี มีลูกเป็นอัจฉริยะ ปัญญาเลิศ เก่ง ฉลาด จีเนียส ฯลฯ
Image result for genius cartoon images
ตัวการ์ตูน Dexter ยอดอัจฉริยะ
แต่...มีอะไรแปลกๆมั้ย?
ทำไมคิดว่าลูกเป็นอัจฉริยะ?


เป็นเรื่องปกติที่พ่อแม่ทั่วโลกมีพื้นฐานความรักความปรารถนาดีด้วยเชื่อว่า ลูกเราเจ๋งกว่าคนอื่น ก็จำต้องส่งเสริมเพื่อให้มีอนาคตที่ดี ให้พ่อแม่หมดห่วง และบางคนที่รู้สึกดีที่รู้สึก“ภูมิใจ” ที่ได้ “สร้าง”ผลงานชิ้นที่เรียกว่า “ลูกจีเนียส” นี้  
บางคนก็มีมุมมองว่า ลูกคือ“เชื้อสาย”ของพ่อแม่ หรือเป็นผู้มีบุญญาธิการมาเกิด ถ้าไม่ได้ฉลาดเพราะได้เชื้อความฉลาดของพ่อแม่ก็เพราะพระเจ้าส่งเทวดามาเกิด  เพราะไม่ได้สอนอะไรเลย ลูกเก่งเอง
และบางคนก็ใช้ความเก่งเจ๋งของลูกเป็นเครื่องมือไปถึงฝันที่พ่อแม่ไปไม่ถึง!!
ดังนั้น  อันดับแรก เราชวนให้เขาถามตัวเองว่า  เรามองดู “ลูกจีเนียส” ของเราจากมุมมองไหน  เบื้องต้นที่ต้องระวังคือ ขอให้พ่อแม่ถามตัวเองก่อนว่าเราได้ยัดเยียดสิ่งที่เราเป็นไม่ได้ให้ลูกต้องเป็นแทนหรือไม่?
ยังมีอีกหลายคำถาม กับข้อมูลชวนคิด ... รออ่านตอนต่อไป 
(บทความนี้ได้นำไปลงใน page ของ ศกร.นวัตกรรมเพื่อความสุข เมื่อเดือนกันยายน 2519
https://www.facebook.com/i4happinessedu/photos/pcb.690660621447317/690660094780703/?type=3&theater)


No comments:

Post a Comment