แต่ถ้าพ่อแม่ยังอยากให้ลูกเป็นอัจฉริยะอยู่จะต้องทำอย่างไร?
ก็ทำได้ แต่วิธีทำก็ต้องให้ “สมดุล” ระหว่าง
1.การพัฒนาองค์ประกอบของอัจฉริยภาพ กับ 2.การเติบโตของเด็ก
ซึ่งจริง ๆ ก็ไม่ต่างไปจากการพัฒนาเด็กที่รักและคลั่งไคล้สิ่งนั้นให้มีความสามารถ
อาทิเช่น
ยุคนี้พ่อแม่เชื่อว่าการเรียนดนตรี เช่น เปียโน
จะสร้างเสริมให้ลูกหลานฉลาดขึ้นกว่าเดิม ลำดับต่อมาก็เชื่อว่าลูกมี gifted ทางดนตรี
เพราะรักทั้งดนตรี หรือมีหูที่ดีเยี่ยม สามารถฟังเสียงและบอกว่าเป็นตัวโน้ตอะไร
ฟังเพลงมาแล้วจำทำนองได้ก็มาไล่เสียงบนคีย์เปียโน แม่สรุปว่า ลูกแกะเพลงได้ สมกับเป็นจีเนียส ฯลฯ
แต่เหล่านี้รับรองได้ว่า ไม่เพียงพอที่จะทำให้ลูกเติบโตเป็นผู้มีอัจฉริยภาพทางดนตรี เพราะว่า องค์ประกอบไม่ครบ …!!
มาดู Amadeus Mozart คนที่ไม่มีใครปฏิเสธว่าเป็นอัจฉริยะ
แต่…ลองนึกภาพของเด็กคนหนึ่งที่อาจจะมีแนวโน้มชอบดนตรี
เพราะพ่อก็เป็นนักดนตรี เป็นครูสอนเปียโน และแต่งตำราสอนไวโอลิน เด็กชาย Mozart ก็ต้องได้ยินเสียงดนตรีมาตั้งแต่เกิด
พอพ่อจับให้เริ่มเล่นเปียโนเมื่อตอน 3 ขวบ
ซึ่งเป็นช่วงที่กำลังพัฒนากล้ามเนื้อ ประสาทสัมผัส การได้ยินเสียง
สายตาที่ต้องอ่านโน้ตและเข้าใจ เมื่อเล่นได้ พ่อก็ปลื้มชื่นชม เป็นแรงเสริมที่ทำให้เขายอมที่จะถูกพ่อฝึกความอดทนเพื่อซ้อมอย่างหนัก
มีคนคำนวณไว้ว่า ถ้าเล่นเปียโนตั้งแต่ 3 ขวบ วันละ 3 ชั่วโมงจนถึงอายุ 6 ขวบ เด็กชาย Mozart ได้เล่นเปียโนมาแล้วไม่ต่ำกว่า
3,500 ชั่วโมง ถ้ายอมให้ถูกฝึกฝนเคี่ยวกรำมาขนาดนี้
จะต้องแปลกใจทำไมหากเขาจะเก่งเรื่องเปียโนเทียบกับเด็กในวัยเดียวกัน เพราะทักษะสำคัญสำหรับการเรียนดนตรีในช่วงแรกคือ
การทำซ้ำ ทำตามให้เหมือน การอ่านโน้ตและการเล่นที่แม่นยำจนมั่นใจ แล้วระหว่างนี้
ถ้าเข้าใจดนตรี เข้าใจบทเพลง ก็เริ่มเกิดความรู้สึก เกิดอารมณ์ ใส่ความคิด
ใส่สไตล์ของตัวเองเข้าไปในการเล่น กล่าวกันว่า Mozart แต่งเพลงแรกเมื่อตอน
4 ขวบ แต่นี้ก็อาจจะเล่ากันเพื่อความอลังการ เพราะเพลงนี้ก็ไม่ใช่เพลงใหม่ที่สุดยอดอะไร เป็นการเอาเพลงเก่ามาเรียบเรียงใหม่
แต่มันคือบันไดขั้นแรกที่พัฒนาขึ้นจากการมีทักษะพื้นฐานทางดนตรี เพื่อวันข้างหน้าจะ
“สร้างสรรค์” เพลงของตัวเองได้
พ่อแม่แอบชำเลืองดูลูกอัจฉริยะของตัวเองหน่อยมั้ย
เปียโนก็ลงทุนไปแล้วเป็นแสน จ้างครูที่ว่าเจ๋งมาสอน แต่ลูกเรามีความก้าวหน้ากับการอ่านโน้ต
กับการฝึกเล่นทักษะที่ยากขึ้นๆ ชอบฟังเพลง
ฟังแล้ววิเคราะห์ได้ เล่นแล้วได้อารมณ์ใหม่ๆ หรือเอามาพัฒนาเป็นเพลงของตัวเอง …
เหล่านี้คือทักษะทางดนตรีที่ต่อยอดจากอัจฉริยภาพ และทำได้ด้วยการลงมือปฏิบัติและเรียนรู้เท่านั้น
โดยไม่ฝันว่าพรสวรรค์จะโตตามตัวลูกโดยที่ลูกไม่ต้องเรียนรู้
ฝึกฝนและพัฒนาต่อเนื่อง
ภาพครอบครัว Mozart คุณพ่อ Leopold, Wolfgang และ พี่สาว Nannerl ที่มีฝีมือทางดนตรีไม่แพ้ Mozart แต่เพราะเป็นผู้หญิง พ่อก็เลยไม่ค่อยส่งเสริมให้เป็นนักแสดงดนตรี |
ถ้าคุณพ่อ Leopold
Mozart เชื่อว่าลูก Wolfgangเป็นอัจฉริยะ
แล้วรอให้พระเจ้าลงมาประทานความสามารถให้ทุกวัน โดยไม่ฝึกฝนลูกตัวเอง
และวางกระบวนการเพื่อให้ Mozart ฝึกทักษะพื้นฐานที่นักดนตรีทุกคนต้องทำได้ Mozart จะได้เป็นอัจฉริยะนักดนตรีหรือไม่ (คิดดู วันละ 3 ชั่วโมง
สำหรับเด็ก 3 ขวบ OMG!!! จนเด็กน้อยแทบไม่ได้เล่นกับเพื่อนแถวบ้าน
ไม่ได้ใช้ชีวิตเป็นเด็ก ได้เรียนรู้โลกจริง
ๆ และไม่ได้ฝึกการจัดการชีวิต)
วิธีการเพิ่มศักยภาพของเด็กแต่ละคนพัฒนาไปถึงขั้นสูงสุดของ Leopold Mozart อาจจะไม่ใช่วิธีที่ดีกับชีวิตของลูกนัก
เพราะลูกก็ขมขื่นแต่ก็ต้องพึ่งพาพ่อเพราะยืนด้วยตัวเองไม่ได้ หรือ Sofiah ที่ถูกพ่อเคี่ยวกรำจนเข้า
Oxford ได้เมื่ออายุ 13
(พ่อก็ใช้วิธีเดียวกันกับลูกทุกคนจน “ประสบความสำเร็จ”)
แต่ก็ขมขื่นกับวิธีการบังคับจนไร้อิสรภาพ เมื่อได้อิสรภาพ
เธอจึงเลือกจะไม่กลับไปหาพ่อ เลือกไปเป็นโสเภณี เป็นนักสังคมสงเคราะห์
และภายหลังก็ได้เลือกที่จะกลับไปเรียนหนังสืออีกครั้ง
อัจฉริยภาพ หรือ พรสวรรค์ อาจจะเป็นพลังสำคัญสำหรับการ “jump start” เผาหัว
ติดเครื่อง แต่ถ้าเครื่องยนต์ไม่แน่น
ไม่อึด น้ำมันไม่พอ
หรือหาปั๊มเติมน้ำมันไม่ได้ …
อัจฉริยภาพก็ไปต่อถึงจุดหมายปลายทางยาก
แต่คนที่รักจริงจัง ฝึกฝนเรียนรู้อย่างฉลาด ไม่หยุดหย่อน หาแรงบันดาลใจ ได้ความคิดสร้างสรรค์
อาจจะขาดเสน่ห์หรือความ “ว๊าว” ของอัจฉริยะไปบ้าง
แต่ก็พบว่า คนจำนวนมหาศาลสามารถจะยืนหยัดกับชีวิตได้อย่างมีความสุขและสำเร็จ
ขอข้อสรุปสำหรับพ่อแม่
เมื่อคิดว่าลูกเรามีแววอัจฉริยะ?
สรุปแบบตรงไปตรงมาก็คือ
พ่อแม่อย่าไปตกหลุมพรางของคำว่า เด็กจีเนียส เด็กอัจฉริยะ จะดีที่สุดหากสามารถเลี้ยงลูกให้ใช้ความสามารถพิเศษพร้อมๆ
กับการมีชีวิตจริงอย่างสมดุล
เรียนรู้ความพ่ายแพ้ผิดหวัง ฟื้นตัวขึ้นมาใหม่ ฝึกให้ตัวเองมีความแข็งแกร่ง
เรียนรู้ที่จะสนุกกับชีวิต มุ่งมั่นกับสิ่งที่เขารักอย่างแท้จริง มีพลังที่จะผลักดันความสามารถพิเศษของตัวเองออกมาเป็นงานสร้างสรรค์
ฝึกวินัยในตนเองและฝึกฝืนบ้าง
ที่สำคัญแต่อาจจะเจ็บปวดก็คือ การมองลูกอย่างเปิดใจ เด็กรักดนตรี แต่ไม่ชอบซ้อม ไม่รักการซ้อม
ไม่อดทนที่จะเรียนรู้พื้นฐานดนตรี
เด็กรักศิลปะแต่ไม่ขีดเขียน ไม่คว้าดินมาปั้น ไม่รู้จักอารมณ์ของตัวเอง ไม่เรียบเรียงเรื่องราว เด็กภาษาดี แต่ไม่อ่าน ไม่พูด ไม่เรียบเรียงความคิด
ไม่วิเคราะห์ … แล้วจะเป็นจีเนียสที่ฉายแววอย่างไร?
หรือการไม่ชอบทำสิ่งที่เป็นพรสวรรค์นี้เป็นการส่งสัญญาณสื่อสารกับพ่อแม่ว่า
หนูพยายามเป็นทุกอย่างที่พ่อแม่อยากให้เป็นแล้ว แต่หนูไม่ใช่!!!!
เราส่งเสริมให้พ่อแม่มีความเชื่อมั่นในลูกทุกคน แต่ต้องอย่ายอมให้จินตนาการและความปรารถนาที่จะเห็นลูกเป็นเด็กอัจฉริยะกลายมาเป็นคำสาปจากสวรรค์
ที่ทำให้ชีวิตทั้งของลูกและของพ่อแม่ตกหลุมพราง
Happily, We Thrive!!!
แหล่งข้อมูล
No comments:
Post a Comment