ปัจจัยอะไร
ที่จะทำให้เด็กอัจฉริยะ กลายเป็น ผู้ใหญ่อัจฉริยะ?
ปัจจัยสำคัญที่สุดคือ พ่อแม่ จะต้องเข้าใจว่า อัจฉริยภาพในวัยเด็กไม่ได้กำหนดความสำเร็จในชีวิตของลูก
จะบอกว่าให้เลิกหลอกตัวเองก็จะแรงไป แต่อย่างน้อย เลิกกดดัน เลิกคาดหวัง และเลิกหย่อนยาน
กลับมาเดินทางสายกลางเช่นเดียวกับการเลี้ยงเด็กคนหนึ่งให้เติบโตอย่างสมดุล ฝึกให้ลูกสามารถเติบโตไปพร้อมกับอัจฉริยภาพเพื่อรับมือกับโลกที่เป็นจริง การกดดัน บังคับ เคี่ยวกรำให้ลูกเป็นอัจฉริยะ
ก็สร้างความทุกข์ให้กับลูกพอ ๆ กับการปกป้อง และตามใจลูกมากเกินไป
จนลูกกลายเป็นเด็กติดสบาย ไม่อดทน ขาดความมุ่งมั่น ขาดพลังที่จะพัฒนาต่อยอดอัจฉริยภาพ
อย่าให้ลูกกลายเป็น perfectionist ที่แสนทุกข์
รับมือกับความล้มเหลวผิดหวังไม่เป็น
เด็กจีเนียสชื่อ Joycelyn Lavin มีความสามารถทางดนตรีสูงมาก
แต่ก็สนใจดาราศาสตร์ ตัดสินใจทิ้งดนตรี และสอบมาตรฐาน A-Level ได้คะแนนสูงสุด เข้าเรียนสาขาวิทยาศาสตร์ที่ University College of
London แต่เรียนไม่จบเพราะสอบตกคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ (อ๊าว!! ไหนว่าสนใจดาราศาสตร์?!) เธอใช้ความสามารถที่มีมาเป็นครูคณิตศาสตร์อยู่ 20 ปี
แล้วลาออก และจัดการชีวิตตัวเองไม่ได้จนกระทั่งตอนนี้บ้านของเธอกำลังจะถูกยึด
Joycelyn Lavin เด็กอัจฉริยะผู้ไม่เคยฝึก self-discipline (theguardian.com/lifeandstyle/2008/dec/20/family-child-prodigy) |
เธอบอกว่า เธอไม่รู้ว่าเธอต้องการจะทำอะไรนอกจากไปอยู่ในอวกาศ
วัยเด็กของเธอไม่ได้เตรียมเธอให้มีวินัยในตนเอง ผ่านประสบการณ์ของเด็กวัยเดียวกัน เธอจึงด้อยความสามารถในการปรับตัวเมื่อเข้ามหาวิทยาลัยทั้งที่มีระดับสติปัญญาขนาดนั้น
เช่นเดียวกับ Andrew Halliburton ผู้มีปัญญาเลิศทางคณิตศาสตร์แต่เรียนไม่จบและลงเอยด้วยการเป็นพนักงานขายในร้านแมคโดนัล
สิ่งที่ทั้งสองขาดคือ วินัยในตนเอง ความมุ่งมั่น ความอดทน การจดจ่อ
ความมั่นใจในตนเอง การรับมือกับความผิดหวังและความกดดัน ซึ่งจะช่วยให้เขาไปถึงสิ่งที่พวกเขาคลั่งไคล้ได้
อีกเรื่องหนึ่งที่พ่อแม่ทำได้คือ เพิ่มโอกาสที่ลูกจะได้เรียนรู้ประสบการณ์อื่น
ๆ นอกเหนือไปจากเรื่องที่เป็นอัจฉริยภาพ
ประสบการณ์นี้จะช่วยลูกได้มาก โดยเฉพาะวันที่ลูกอาจจะถึง “จุดอิ่มตัว” ในอัจฉริยภาพในวัยเด็ก
ชีวิตก็จะไม่ตีบตันจนต้องตัดสินใจแบบไร้หนทาง
ส่วนจะตัดสินใจเดินไปทางไหน ไม่มีคำตอบตายตัว พ่อแม่บางคนมาพบว่า เอาเข้าจริงแล้ว ลูกเราที่นึกว่าเป็นจีเนียส
ก็ไม่ได้มีอะไรพิเศษอย่างที่เราเข้าใจ (หรืออยากให้เป็น?!) ก็รีบส่งเข้าโรงเรียน
เพื่อกลับไปใช้ชีวิตแบบคนทั่วไป
โดยไม่ได้เตรียมตัวให้ลูกพร้อมทั้งเรื่องทักษะ ความคิด จิตใจ และสังคม
ก็ยิ่งเป็นการซ้ำเติม
เหมือน Marc Yu เด็กอัจฉริยะทางดนตรีตั้งแต่
6 ขวบ ที่ต่อมาพ่อแม่ส่งเข้าโรงเรียน เขาบอกว่าทักษะที่ใช้กับคีย์บอร์ดและการแสดงบนเวทีใช้ไม่ได้กับชีวิตจริง
การฝึกฝนเคี่ยวกรำตนเองเป็นทักษะที่ใช้ในการเรียนหนังสือหรือแสดงดนตรี
แต่ใช้กับมนุษย์ไม่ได้ คำแนะนำจาก Yu
ก็คือ เปิดโอกาสให้ลูกได้เรียนรู้ประสบการณ์หลากหลาย ขอย้ำว่าการ “เรียนรู้” ต้องมีเป้าหมายให้เกิดการเปลี่ยนแปลงบางอย่าง ไม่ใช่แค่ทำสนุก ๆ ให้ผ่านไป
(เหมือนพาลูกไปทำนาจนแม่ตัวดำ หน้าขึ้นฝ้า แต่กลับมาที่บ้าน ลูกไม่เคยรดน้ำต้นไม้เลย
55555)
ตอนต่อไป มารู้จักอัจฉริยะนักดนตรีตลอดกาล ...
No comments:
Post a Comment