Labels

9.12.2011

ที่มาที่ไป ... ชื่นใจฯ มัธยม

ได้ตอบคำถามผู้ปกครองที่อยากทราบความเป็นมาของโครงการชื่นใจได้เรียนรู้มัธยมไปดังนี้ค่ะ
  • เดิมนักเรียนจะทำชื่นใจฯ เป็นกลุ่ม บางครั้งกลุ่มเล็ก บางครั้งทั้งห้อง มีการแสดงละคร และเน้นงานที่เป็นเิชิงสังคมเยอะ  ซึ่งก็มีข้อดีตรงที่สร้างจิตสำนึกและเน้นการคิดสร้างสรรค์  แต่มีนักเรียนจำนวนหนึ่งต้องตามใจเพื่อนมากกว่าได้ทำสิ่งที่ตัวเองอยากเรียนรู้  และใช้เวลา 1 สัปดาห์สุดท้ายเร่งทำ production กัน  ตะลุยทำกัน 2-3 วันเท่านั้น  
  • แนวทางการพัฒนาเด็กมัธยมต้นที่มีเป้าหมาย "ท้าทายศัำกยภาพในวัยมัธยม" และให้รู้จักตนเองไปกับการฝึกทักษะการทำงาน และทักษะการจัดการความรู้ได้ภายในเวลา 3 ปี คือ ชั้น 7-9 จึงได้จัดปรับ วางแนวคิด วิสัยทัศน์กันใหม่  เพื่อให้เด็กๆ ได้ฝึกการทำงานอย่างเป็นระบบ และมีคุณภาพ เน้นกระบวนการก่อนนำเสนอ 
  • ส่วนทักษะด้านการแสดง การสร้างสรรค์ซึ่งได้ฝึกฝนมาช่วงที่อยู่ประถม ก็จะมีอีกหลายกิจกรรมที่มัธยมเปิดโอกาสให้ได้ทำงานกลุ่ม และงานสร้างสรรค์ ฯลฯ
กระบวนการทำงาน
  • เราใช้แนวทาง problem-based learning  โดยให้นักเรียนแต่ละคนกำหนดโจทย์ของตัวเองตามความสนใจ  ฝึกการตั้งคำถาม และหาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และฝึก sensing ของตัวเอง  
  • นักเรียนจะเลือกคุณครูที่ปรึกษาอย่างน้อย 1 คนเป็นโค้ชเพื่อทำงานประมาณ 10 สัปดาห์ ซึ่งจะต้องมาพบกันอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง
  • คุณครูที่ปรึกษาเป็นส่วนที่มีความสำคัญกับกิจกรรมนี้อย่างมาก ดังนั้นจึงไม่ใช่เพียงคนที่นักเรียนอยากได้มาเป็นเพื่อนคู่คิด แต่ต้องเป็นคนที่มีความสนใจหรือความรู้ในเรื่องนั้นเพียงพอที่จะให้คำแนะนำ หรือตั้งคำถามได้  ดังนั้น บางโครงงานฯ อาจมีคุณครูมากกว่า 1 คน
  • ในส่วนกระบวนการ "หาคำตอบ" มีได้หลากหลายวิธี  เท่าที่เราเห็นบ่อยๆ คือ การค้นคว้า (ซึ่งบางคนก็ใช้การสัมภาษณ์) การทดลอง ทำสำรวจ หรือผสมกัน  เมื่อได้ผลก็มาคิดวิเคราะห์ต่อเนื่องไปเรื่อยๆ  โดยมีคุณครูเป็นโค้ชให้ค่ะ
  • คุณครูให้นักเรียนใช้ตารางบันทึกการทำงานเป็นรายสัปดาห์  กับแนวการประเมินการทำงานซึ่งได้แจกให้นักเรียนไปแล้วตั้งแต่เริ่มทำงาน ซึ่งควรต้องนำมาพบครูทุกครั้ง และส่งในวันนำเสนอ
  • ส่วนเรื่องการประเมินผล  นักเรียนกับครูจะตกลงกันว่า ใครอยากเน้นเรื่องอะไรในชื่นใจฯรอบนี้ ก็จะให้คะแนนก้อนนี้มาก-น้อยก็แล้วแต่  ทั้งสองตารางนี้  ปรับขึ้นมาจากการทดลองใช้เมื่อปีที่แล้ว  แต่ก็ยังมีเรื่องต้องปรับปรุงอีก  ช่วยกัน comment มาได้นะคะ 

No comments:

Post a Comment