- การทำชื่นใจฯ
ในรูปแบบนี้เป็นการฝึกการทำงานระยะยาว (ประมาณ 10-13 สัปดาห์) ซึ่งต้องทำแผนการเป็นขั้นตอน ฝึกความรับผิดชอบในการมาพบครูที่ปรึกษา ฝึกคาดเดาว่าจะเจออุปสรรคอะไร เตรียมแก้ปัญหาหรือหาทางออกไว้ และจะได้งานที่ลึกซึ้งขึ้นเรื่อยๆ
- กลุ่มที่อาการหนักที่สุดมีประมาณ 20% ที่ยังไม่สามารถพัฒนาทักษะการทำงานและการเรียนรู้ไ้ด้ตามที่เราคาดหวังเพราะยังบริหารเวลาไม่ได้ ไม่มาพบครู และมาเร่งทำในตอนปลายทาง บางรายแก้ปัญหาด้วยการให้ที่บ้านช่วย ก็เลยต้องมาทำกันใหม่ช่วงปิดเทอม แต่ปีนี้ นักเรียนชั้น 8 และ 9 เข้าใจว่าต้องทำอะไรบ้าง เช่นเดียวกับคุณครูที่มีประสบการณ์มากขึ้น
- เทอมนี้ คุณครูจะไม่ค่อยตามเด็กชั้น 8 และชั้น 9 มาพบแล้ว
แต่เด็กจะต้องมาพบครูเองตามเวลาที่นัดกัน แต่น้องชั้น 7
จะเชิญให้มาพบถ้าไม่เห็นหน้ากัน
2 สัปดาห์
- โดยภาพรวม เด็กๆ ได้ทดลองเรียนรู้เรื่องที่ตัวเองสนใจ (เพราะโจทย์แรกบอกว่า ให้เลือกเรื่องที่สนใจ เป็นเรื่องอะไรก็ได้ แล้วมาคุยกับครูเพื่อทำให้มี focus มากขึ้น เช่น คนทำเรื่องโค๊กเหมือนกัน พบว่า คนหนึ่งสนใจเชิงธุรกิจ อีกคนสนใจเชิงเคมี) เมื่อได้อยู่กับเรื่องนี้ประมาณ 10 สัปดาห์ ก็พอจะบอกได้ว่า แนวนี้ใช่หรือไม่ใช่ ถ้ายังไม่มั่นใจจะลองทำต่อเนื่องในเทอมหน้าก็ไม่ว่ากัน
- ระหว่างทำงานด้วยกัน คุณครูเห็นพัฒนาการที่ดีมาก (ไม่ใช่เฉพาะแค่วันนำเสนอ) โดยเฉพาะการแก้ปัญหาอุปสรรคซึ่งเด็กได้เผชิญด้วยตัวเอง
มีคุณครูเป็นที่ปรึกษา เด็กหลายคนเกิดอาการ "อ๋อ ... เออ
ใช่ ... งั้นหนูจะไปทำตรงนี้เพิ่มดีมั้ยคะ"
แบบบันทึกใบที่ 1 ต้องเขียนสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ดังนั้นก็จะมีอย่างน้อย 4 ใบ แบบบันทึกใบที่ 3 ซึ่งส่วนมากจะใช้สรุปการทำงาน จะมี 1 ใบเป็นอย่างน้อย บางคนบันทึกทุกสัปดาห์ หรือ 2 สัปดาห์ แบบบันทึกความก้าวหน้า ใบที่ 2 ซึ่งก็จะต้องมี 3 ใบเป็นอย่างน้อย
9.12.2011
การเรียนรู้ของนักเรียน จากงานชื่นใจฯ
Labels:
ชื่นใจฯ
Subscribe to:
Post Comments (Atom)
No comments:
Post a Comment