Labels

11.07.2011

กรอบงานชื่นใจฯ มัธยม (3)

ส่งกำลังใจมาให้เด็กๆ ในการเริ่มคิดงานชื่นใจในภาวะภัยพิบัติอย่างนี้นะคะ  พวกเราเคยทำโครงงานฯ มาอย่างน้อย 1 ครั้งแล้ว  คงพอนึกออกแล้วว่า งานโครงงาน  ไม่ใช่การรายงาน  ไม่ใช่การหยิบข้อมูลจากตรงนั้นตรงนี้มาแปะ ใส่รูปแค่นั้น  และพวกเราก็เริ่มทำงานได้ด้วยตัวเองได้แล้ว (คุณครูยัง on-line ให้ปรึกษาค่ะ)

1.  โครงงานยังเป็นงานส่วนบุคคล  ใช้กระบวนการทำงาน และเครื่องมือต่างๆ เหมือนเดิม 
1.1. กระบวนการตั้งคำถาม หาคำตอบที่ต้องมีข้อมูลมาอ้างอิง แสดงกระบวนการคิดวิเคราะห์ ปรับและพัฒนาต่อยอดงานเป็นขั้นๆ  และตอบโจทย์ใหญ่เดียวกันของแต่ละชั้นปี คือ 
1.1.1.  ชั้น 7 เน้นกระบวนการตั้งคำถาม หาคำตอบด้วยกระบวนการทางวิทยาศาสตร์  การวางแผนการทำงานอย่างเป็นกระบวนการ
1.1.2.  ชั้น 8 เน้นการนำทักษะกระบวนการทำงานมาสร้างโครงงานที่บอกความเป็นตัวตน หรือความสนใจส่วนบุคคลอย่างชัดเจน   เลือกอาชีพ
1.1.3.  ชั้น 9 ตอบโจทย์ความสนใจที่ลึกขึ้น เกี่ยวข้องกับการของแต่ละคน
1.2. เครื่องมือที่ใช้: ยังใช้ตารางการทำงานและการประเมินที่เคยใช้เมื่อเทอมที่แล้ว (ดูเอกสารแนบ)  โดยสามารถเพิ่มเติมหรือปรับได้ตามความเหมาะสม แต่เน้นให้บันทึกต่อเนื่อง ไม่ใช่มานั่งเทียนเขียนทั้งหมดในสัปดาห์ที่ต้องส่งงาน  นี่เป็นส่วนหนึ่งของผลการประเมิน
1.3. นักเรียนสามารถเลือกคุณครูที่ปรึกษาได้เหมือนเดิม  ถ้ายังนึกไม่ออกว่าจะเป็นใครดีให้ถามแม่ต้นก็ได้จ้า
เกณฑ์การให้คะแนนชื่นใจฯ
2.    ช่วงนี้เราจะเห็นแนวความคิดมากมายในสื่อมวลชน ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ และสื่อ on-line  ลองศึกษาข้อมูลจากสื่อเหล่านี้ดูว่ามีประเด็นอะไรบ้าง  ส่วนคนที่ได้รับผลกระทบ ก็อาจจะใช้มุมมองของผู้ได้รับผลกระทบก็ได้ว่า มีความต้องการอะไรในยามจำเป็น  การทำโครงงานก็จะได้ตอบโจทย์ความต้องการแท้จริงของผู้ประสบภัย้
3.    ใครคิดหัวข้ออะไรได้ จะส่งมาให้แม่ต้นช่วยดู หรือส่งให้คุณครูที่อยากเชิญเป็นที่ปรึกษาได้เลย ทุกคนมี profile ของคุณครูกันแล้วเป็นส่วนมาก  อย่าลืมคุณครูหยวก (คอมพิวเตอร์) และคุณครูฟี่ (ศิลปะ ภาพถ่าย graphic design) นะคะ
แม่ต้นใช้ e-mail สะดวกที่สุดในตอนนี้  คือ Dhon63@gmail.com ค่ะ

No comments:

Post a Comment