โจทย์
ไม่จำเป็นต้องซับซ้อน ยากเกินตัว แต่ต้องอาศัยข้อมูลที่นักเรียนมีอยู่
และเห็นว่าเป็นเรื่องที่สนใจ ท้าทายความสามารถของตัวเองจริง เป็นเรื่องใกล้ตัว
หรือเป็นเรื่องที่เราอาจจะได้ใช้ประโยชน์ ตัวอย่างโจทย์ เช่น
งานกลุ่มวิศวกรรม:
·
ที่อยู่อาศัยแบบใดที่เหมาะกับภาวะน้ำท่วม
·
จะออกแบบเรืออย่างไรที่เหมาะกับการเป็นเรือกู้ภัยที่สามารถจัดเก็บโดยไม่กินพื้นที่ หรือเป็นยานสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบกแบบง่ายๆ
·
ทำอย่างไรจึงจะตรวจสอบกระแสไฟฟ้าในน้ำโดยไม่เสี่ยงอันตราย
·
สร้างแนวป้องกันน้ำทะลักเข้าบ้านอย่างไร
ตามทฤษฎีใด จึงจะแข็งแรง
มีประสิทธิภาพ และ ประหยัด
โจทย์ ... เคลื่อนตัวอย่างไรในน้ำท่วม
คิดได้ จะดีหรอ?!?! |
เรือหรือรถสะเทิ้นน้ำสะเทิ้นบก |
อืมมม คิดได้ แถมกล้าทำเนอะ |
งานเชิงสาธารณสุข:
·
อาหารและบรรจุภัณฑ์แบบใดที่เหมาะกับภาวะน้ำท่วม
และไม่ก่อขยะ
·
ยาสมุนไพรที่เหมาะกับการรักษาโรคน้ำกัดเท้า
(หรือโรคอื่นๆ จากน้ำท่วม) ควรมีสูตรอย่างไร
·
สูตร
EM หรือการใช้ผลิตภัณฑ์ชีวภาพที่เหมาะกับการฟื้นฟูสภาพน้ำเน่าเสีย
และผลกระทบจากการใช้ EM
·
จะทำน้ำดื่มคุณภาพดีจากน้ำท่วมได้อย่างไร
·
จะประยุกต์แนวคิดการทำนาลอยน้ำ
กับการปลูกพืชอาหารชนิดอื่นได้อย่างไร
·
วิธีใดที่เหมาะสมกับการฆ่าเชื้อโรคที่มากับน้ำ
งานเชิงศิลปะประยุกต์ ภาษา และการสื่อสาร:
·
จะนำศิลปะ
(ดนตรี graphic design
งานวาดเส้น ฯลฯ) มาใช้เพื่อการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัยได้อย่างไร
·
สื่อในรูปแบบใดได้บ้าง (cartoon, animation, ฯลฯ) ที่สามารถโน้มน้าวใจให้คนอพยพจากพื้นที่ประสบภัย
·
จะใช้ประโยชน์จากการถ่ายภาพอย่างไรเพื่อสื่อสารให้ผู้ชมเข้าใจสถานการณ์น้ำท่วม
·
เมื่อเปรียนเทียบวิเคราะห์ข่าวสารข้อมูลจากแหล่งต่างๆ
แล้ว เราได้หลักคิดอะไรที่จะช่วยให้ประเมินสถานการณ์
วางแผนและตัดสินใจได้อย่างเหมาะสม
·
เราจะใช้การสื่อสารอย่างไรเพื่อสร้างความเชื่อมั่น/ป้องกันการตื่นตระหนก/โน้มน้าวหรือปลอบประโลมใจในสถานการณ์ภัยพิบัติ
·
รายงานข่าวอุตุนิยมแบบใดจึงจะเป็นประโยชน์กับประชาชน
งานเชิงรัฐศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ นโยบาย:
·
ทำอย่างไรจึงจะป้องกันขโมยเข้าบ้านผู้อพยพ
·
แนวทางกำหนดนโยบายฟื้นฟูเศรษฐกิจใดที่เหมาะสมกับแต่ละพื้นที่น้ำท่วม
·
ทำอย่างไรการพยากรณ์พื้นที่ที่จะได้รับผลกระทบจึงแม่นยำ
·
ระบบการระบายน้ำแบบใดจึงมีประสิทธิภาพสูงสุดสำหรับกรุงเทพฯ
ทรัพย์สินอย่างรถยนต์จะปลอดภัยได้ด้วย ...
ใช้อะไรหุ้มดี ... แบบนี้ |
หรือแบบนี้ |
หรือไม่ต้องหุ้ม แต่ลอยไปดีกว่า ... |
อันนี้เป็นตัวอย่างคำถามที่นักเรียนเอาไปปรับให้ใกล้เคียงความสนใจของตัวเอง แต่ยังมีคำถามอีกมากมายที่นักเรียนคิดขึ้นได้เอง แต่อยากให้ใช้ความรู้ทั้งหมดมาบูรณาการ
และเป็นงานที่พวกเรามีส่วนร่วมได้ (เช่น ทำได้เอง
หรือเป็นความคิดที่เราทดลองทำได้)
ไม่ต้องไปคิดเรื่องใหญ่โตไกลตัว เช่น อาวุธ จรวด ฯลฯ อยากให้นึกถึงตัวเราในยามประสบภัย
(หรือใครที่รอดก็นึกถึงสถานการณ์ของเพื่อนๆ) ว่า เราต้องการอะไร ถ้ามี "สิ่งนี้" จะดีมาก ฯลฯ อย่างตอนนี้ มีคนส่งหัวข้อมาให้แม่ต้นดูแล้ว เป็นเรื่องบ้านหนีน้ำ; ทำน้ำดื่มจากน้ำท่วม; ทำผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดและบำรุงผิว; การบำบัดน้ำเสียหลังน้ำท่วม เป็นต้น ไม่ต้องกลัวว่าเรื่องจะซ้ำ เพราะประเด็นที่สนใจ กระบวนการ วิธีการแต่ละคนอาจจะไม่เหมือนกัน ใครยังไม่มั่นใจในคำถามของตัวเอง ส่ง e-mail
มาถามแม่ต้นหรือคุณครูที่ปรึกษาก็ได้นะคะ
หลังจากทำโครงงานเสร็จ เราจะรวบรวมโครงงาน หรือนวัตกรรมรับมือภาวะน้ำท่วมเป็นรูปเล่ม
แบบเป็นคู่มือรับภัยพิบัติฉบับเพลินพัฒนาที่นำไปเผยแพร่ให้เกิดประโยชน์กับสาธารณชนได้ด้วย
No comments:
Post a Comment