แผนภูมิภาพเซลล์ของสัตว์ |
คำศัพท์ที่เราคิดว่าเป็นภาษาประหลาดๆ นั้น ที่จริงก็มีการพัฒนาขึ้นมาอย่างมีระบบ เริ่มจากรากศัพท์ในภาษากรีก ลาติน หรือโรมันบ้าง แต่ทุกคำมีความหมาย ถ้าสงสัยว่า ทำไมจึงต้องใช้ศัพท์แบบนี้ ก็ขอให้เข้าใจว่า การเรียนวิทยาศาสตร์ในปัจจุบันนี้ต้องอาศัยการสื่อสารอย่างเป็นสากลมาก เนื่องจากวิทยาการที่เกี่ยวข้องกับวิทยาศาสตร์เกิดขึ้นทั่วโลก และนักวิทยาศาสตร์ หรือนักชีววิทยาก็ต้องมี "ภาษากลาง" ที่ใช้ร่วมกันเพื่อความเข้าใจ ไม่ว่าจะเป็นคนชาติไหนก็ตาม
การเรียนรู้ในวิชาวิทยาศาสตร์บางบท สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตัวเอง ในภาวะที่เรายังไม่สามารถมาเรียนร่วมกันได้ในห้องเรียน คุณครูได้เลือกเรื่องที่นักเรียนสามารถจะหาข้อมูล หรือบทเรียนที่หาได้ทางอินเตอร์เนท โดยคุณครูจะมีเวบไซท์ที่บังคับให้อ่าน และทำกิจกรรม นอกจากนี้ยังมีเวบไซท์อื่นๆ ที่คุณครูแนะนำสำหรับนักเรียนที่ต้องการศึกษาเพิ่มเติม ขณะเดียวกัน นักเรียนยังสามารถค้นหาเวบไซท์อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องได้อีก แต่ทุกครั้งที่พบเวบไซท์ที่น่าสนใจก็จะต้องบันทึก URL ไว้ และเขียนคำสำคัญ (Key word) เอาไว้ด้วย จะทำให้ง่ายต่อการสืบค้น
เวบไซท์ที่คุณครูให้นักเรียนอ่านคือ
https://www.myfirstbrain.com/student_view.aspx?ID=71878
ซึ่งเป็นความรู้ขั้นพื้นฐานตรงตามหลักสูตรขั้นพื้นฐานระดับชั้นม.1
และให้นักเรียนเข้าเรียนรู้โปรแกรมที่แสดงแบบจำลองของเซลล์ (ภาษาอังกฤษ)
http://www.cellsalive.com/cells/cell_model.htm
ซึ่ง model นี้จะช่วยให้นักเรียนเห็นแผนภาพ (diagram) ที่แสดงลักษณะของเซลล์พืช และสัตว์ได้เป็นอย่างดี โดยนักเรียนสามารถลากเมาส์ไปยังส่วนประกอบต่างๆ ในภาพได้ด้วย พร้อมคำอธิบายเป็นภาษาอังกฤษ (ซึ่งนักเรียนอาจต้องหาตัวช่วยคือพจนานุกรม คุณพ่อคุณแม่ที่คุ้นเคยกับคำศัพท์เหล่านี้ หรือ อีเมล์ถามคุณครูได้ด้วย)
แต่หากนักเรียนต้องการความรู้ที่ลึกซึ้งขึ้น ก็สามารถศึกษาได้เพิ่มเติมจากเวบไซท์ต่างๆ เช่น
http://school.obec.go.th/saneh/cell/cell/main1.htm
http://student.nu.ac.th/phitsanu_edu/lesson/lesson_1.htm
หากมีคำถาม หรือข้อสงสัย สามารถส่งสอบถามได้ที่คุณครูบอล <schanate@hotmail.com>, ครูนา <nunar@hotmail.com>, ครูน้อง <sriprapha@gmail.com>, หรือครูการ์ตูน <freshy_ku@hotmail.com> ก็ได้ค่ะ แต่ถ้าติดต่อใครไม่ได้จริงๆ ก็ส่งมาให้แม่ต้น dhon63@gmail.com
ส่วนชิ้นงานที่ให้ทำเป็นชุดคำถามเบื้องต้นเกี่ยวกับเซลล์ และกล้องจุลทรรศน์ซึ่งถือเป็นเครื่องมือหนึ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนทางวิทยาศาสตร์ มีกำหนดส่งภายในวันที่ 30 พ.ย. นี้ โดยในระหว่างนี้ นักเรียนสามารถตอบคำถามเข้าไปกี่ครั้งก็ได้ เช่น ถ้าตอบไปแล้ว ไม่มั่นใจ ขอกลับไปศึกษาเพิ่มเติม แล้วมาแก้ตัวตอบใหม่กี่ครั้งก็ได้ โดยคุณครูจะยึดคำตอบครั้งล่าสุดเท่านั้น
พร้อมแล้วก็ คลิกที่นี่ได้เลย เพื่อไปตอบคำถามเกี่ยวกับเซลล์
No comments:
Post a Comment