Labels

11.05.2011

เรียนรู้กับน้ำท่วม 2554 (2)

บทเรียนที่ 2: ข้อความที่ไร้ข้อมูล หรือ น้ำท่วมทุ่งผักบุ้งโหรงเหรง

ในยุค 2000  ชีวิตของเราแวดล้อมด้วยแหล่งข้อมูลข่าวสาร นอกจากสื่อกระดาษ สื่อเสียง และทีวีแล้ว ยังมีอินเตอร์เนทที่อุดมไปด้วยข้อมูลจากหลายทิศทาง  ถ้าเราไม่อยากจมอยู่ในวังวนของข่าวสาร เราก็ต้องเข้าใจความแตกต่างระหว่างข้อความ กับข้อมูล 

เปลี่ยนรูปแบบ แต่ไส้ในยังกลวงเหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง
สิ่งที่เราต้องการเมื่อเสพย์ข่าวสารคือ ข้อมูล  แต่น่าเสียดายเวลาที่เราเสียไปกับการรับข่าวสารกลับแทบไม่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์เลย  ยกตัวอย่างง่ายๆ
  • รายงานพยากรณ์อากาศทุกเย็นก็จะบอกอุณหภูมิสูงสุดต่ำสุด ทะเลมีคลื่นสูง ฯลฯ ซึ่งเป็นข้อมูลที่เหมือนๆ กันทุกช่อง  แต่ข้อมูลเหล่านี้มีประโยชน์กับผู้ชมหรือไม่ 
    • รายงานว่า ฝนตก 60%  เดิมไม่รู้ด้วยซ้ำว่าหมายถึง 60% ของพื้นที่  นึกว่าโอกาสที่ฝนจะตกมี 60%  แต่ถึงกระนั้น จะรู้ไหมว่า พื้นที่ไหนคือ 60% ที่จะโดน
    • เรื่องฝนตกน้ำท่วมนี่ก็เหมือนกัน  บอกว่า มรสุมชื่ออะไรจะมา แต่ไม่ได้ส่งสัญญาณอะไรที่จะบอกว่า ปีนี้รุนแรงกว่าปีที่แล้วนะ  ต้องระวังผู้ที่อยู่ในเส้นทางน้ำหลาก โดยเฉพาะนิคมอุตสาหกรรมไปสร้างขวางทางน้ำหลาก ต้องเตรียมตัวรับมืออย่างไร แจ้งเจ้าของมั้ย ต้องหาพื้นที่จอดรถหนีน้ำมั้ย ฯลฯ
    • การคำนวนปริมาณน้ำยุคนี้ควรจะทำได้อย่างแม่นยำมากขึ้นกว่าแต่ก่อน เพราะมีเครื่องมือที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับสภาพอากาศมากมาย ทั้งแผนที่อากาศ  แผนที่ดาวเทียม  GIS  เรายังต้องมีเครือข่ายข้อมูลจากเพื่อนบ้าน ศูนย์อากาศแถบแปซิฟิก ฯลฯ  และกรมอุตุฯ ของเราต้องไม่หลับอุตุ  ต้องไปสื่อสารกับหน่วยพยากรณ์อากาศที่อื่นด้วย เช่น CNN, CIA, ASEAN, และยังมีศููนย์เตือนภัยพิบัติอีก  แต่เรากลับได้ประโยชน์จากแหล่งข้อมูลไฮเทคน้อยเกินไป
    • แถมล่าสุด สร้างความฮือฮากันด้วยวิธีการ present ที่แหวกแนวของช่อง 7  แต่ขอโทษ สาระไม่เปลี่ยน ยังไร้ความหมายกับชีวิตคนไทยเหมือนเดิม
  • ข้อความที่ไม่รู้ว่าหมายความอย่างไร
  • น้องวาฬมาช่วยอธิบายจนคนไทยหายงง
    • เอาอยู่ค้า ... -- เป็นข้อความที่ได้ยินบ่อยมากๆ  แต่ที่จริงแล้วหมายความว่า ด้วยสติปัญญาและความรู้ที่มีค่าเท่ากับ 0 ดิฉันคิดว่า 50-50 ค่ะ  คนที่ไม่หลงเชื่อคำพูดแบบนี้ หรือ มีข้อมูลมากก็ต้องเตรียมตัวเตรียมใจ เก็บข้าวของขึ้นข้างบน เตรียมตัด breaker ออกจากบ้านดีกว่า
    • มวลน้ำก้อนใหญ่ กำลังเคลื่อนตัวมาจากทางเหนือ -- แปลว่าอะไร มันมหาศาลขนาดไหน จะกินพื้นที่ขนาดไหน ไปในทิศทางไหน ฯลฯ  ต้องขอบคุณกลุ่มรู้สู้flood ที่ทำ VDO clip เล่าเรื่องน้องน้ำเทียบกับปลาวาฬจนคนเข้าใจว่าเกิดอะไรขึ้น
    • พื้นที่นี้ประกาศเป็นพื้นที่อพยพ -- โอเค ต้องเก็บของหละ  แล้วไงต่อ อพยพแปลว่าต้องไปทุกคนมั้ยอ้ะ  แล้วจะไปที่ไหนอ้ะ  แล้วจะไปเจออะไรอ้ะ  ต้องเอาเตาแก๊สไปมั้ย ต้องทำอะไรอีก ฯลฯ  
    • ขอให้อพยพ แต่ต้องมาทำงาน -- อันนี้งงที่สุด จะให้อพยพไปอยู่ที่ไหน ที่ยังจะต้องมาทำงานเนื่องจากไม่ได้สั่งให้เป็นวันหยุด  แต่งงยิ่งกว่างงที่สุดคือ ประกาศให้เป็นวันหยุดซะหลายวันเพื่อให้คนกรุงไปต่างจังหวัด เพื่อจะกลับมาเจอน้ำท่วม ... มันแปลว่าอะไร
      แผนภาพนี้ ควรจะแจกให้ชาวบ้านในกรุงเทพฯแปะติดฝาบ้านไว้เลย
  • ข้อมูลที่ไม่รู้ว่ามีผลกระทบกับเราอย่างไร แล้วเราจะทำอะไรกับข้อมูลอย่างนี้
    • เราจะเปิดประตูน้ำ 80, 100, หรือ 150 ซม. มันหมายความว่าอย่างไร  ถ้าเปิดเท่านี้น้ำจะท่วมเรามั้ย  พนังกั้นน้ำ เราควรจะพังทิ้งซะดีมั้ย ฯลฯ
    • น้ำทะเลหนุนสูงสุดในช่วงวันที่ 30 ต.ค. - 2 พ.ย. -- โอเค น้ำหนุนสูงสุด 2.67 เมตร มันคืออะไรเหรอ บ้านชั้น 1 สูง 2.8 เมตรของฉันจะท่วมมั้ย  ต้องรีบอพยพมั้ย  ก็บอกไปสิว่า ระดับน้ำขนาดนี้ ถ้าพนังกั้นน้ำไม่อยู่ บ้านในเขต .... จะโดนอย่างนี้ ...
    • น้ำประปาอยู่ในมาตรฐาน WHO -- มันทั้งเหลือง ทั้งเหม็น ทำไมมาตรฐาน WHO ต่ำนักอ้ะ กินเข้าไปแล้วจะเป็นยังไง ใช้แปรงฟันได้ป่าว
      แต่ที่แย่ที่สุดคือ ข้อความที่เจตนาให้คนเข้าใจผิดอย่างนี้
สารพัดเรื่องของข้อความที่ไม่มีข้อมูลอันเป็นประโยชน์กับชีวิตเราเลย  สำหรับเด็กๆ นี่คือตัวอย่างที่เป็นรูปธรรม  เวลาที่เราค้นคว้าจาก Google หรืออ่านอะไรก็แล้วแต่  ถ้าไม่ฝึก critical thinking ตั้งคำถามกับข้อมูลนั้นจนเป็นนิสัย  เราจะติดอยู่ในวังวนไปเถียงกันที่ระดับข้อความ แต่ไม่ใช่ระดับข้อมูล  ถ้าเราไปเป็นผู้นำการตัดสินใจที่ผิดพลาดจนอาจจะเกิดความเสียหายกับชีวิตและทรัพย์สินของชาติและของประชาชนอีกนับแสนนับล้านคน  เด็กเพลินฯ ต้องไม่เป็นเหยื่อของข้อความที่ไร้ข้อมูลนะ

No comments:

Post a Comment