ใบความรู้ที่ ๔ การเขียนแสดงความคิดเห็น
การเขียนแสดงความคิดเห็น
การเขียนแสดงความคิดเห็น คือ
การเขียนที่ประกอบด้วยข้อมูลอันเป็นข้อเท็จจริงกับการแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง
ความคิดเห็นควรจะมีเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ การเขียนแสดงความคิดเห็นมักปรากฏในรูปของบทความตามสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆ เช่น
หนังสือพิมพ์ วารสาร นิตยสาร
เป็นต้น
หลักการเขียนแสดงความคิดเห็น
๑.
การเลือกเรื่อง
ผู้เขียนควรเลือกเรื่องที่เป็นที่สนใจของสังคมหรือเป็นเรื่องที่ทันสมัย อาจเกี่ยวกับเหตุการทางการเมือง เศรษฐกิจ
สังคม ศาสนา ศิลปะ
วิทยาศาสตร์ หรือข่าวเหตุการประจำวัน
ทั้งนี้ผู้เขียนต้องมีความรู้และเข้าใจเรื่องที่ตนจะแสดงความคิดเห็นเป็นอย่างดี เพื่อที่จะแสดงความคิดเห็นอย่างลึกซึ้ง
๒.
การให้ข้อเท็จจริง
ข้อมูลที่เลือกมานั้นจะต้องมีรายละเอียดต่างๆ เช่น
ที่มาของเรื่อง ความสำคัญ และเหตุการณ์เป็นต้น
๓.
การแสดงความคิดเห็น ผู้เขียนอาจแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องได้ ๔
ลักษณะดังนี้คือ
-
การแสดงความคิดเห็นเพื่อตั้งข้อสังเกต เช่น
การเติบโตของธุรกิจอินเทอร์เน็ต
ความนิยมรับประทานอาหารเสริมสุขภาพ
-
การแสดงความคิดเห็นเพื่อสนับสนุนข้อเท็จจริง เช่นหัวข้อเรื่อง การจัดระเบียบสังคมของร้อยตำรวจเอกปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์
การปราบปรามยาเสพติดขั้นเด็ดขาดของนายกทักษิณ ชินวัตร
-
การแสดงความคิดเห็นเพื่อโต้แย้งข้อเท็จจริง
เช่น หัวข้อเรื่อง การกินยาลดความอ้วนของวัยรุ่น การเปิดเสรีการค้าน้ำเมาของภูมิปัญญาชาวบ้าน
-
การแสดงความคิดเห็นเพื่อประเมินค่า เช่นหัวข้อเรื่อง การวิจารณ์เรื่องสั้น
ที่ได้รับรางวัลวรรณกรรมสร้างสรรค์ยอดเยี่ยมแห่งอาเซียนหรือรางวัลซีไรต์
๔.
การเรียบเรียง
-
การตั้งชื่อ
ควรตั้งชื่อเรื่องให้เร้าความสนใจผู้อ่าน
และสอดคล้องกับเนื้อหาที่จะเขียน เพราะชื่อเรื่องเป็นส่วนที่ผู้อ่านจะต้องอ่านเป็นอันดับแรกและเป็นการบอกขอบเขตของเรื่องด้วย
-
การเปิดเรื่อง
ใช้หลักการเขียนเช่นเดียวกันกับคำนำ
และควรเปิดเรื่องให้น่าสนใจ
ชวนให้ผู้อ่านติดตามเรื่องต่อไป
-
การลำดับ
ควรลำดับเรื่องให้มีความต่อเนื่องสอดคล้องกันตั้งแต่ต้นจนจบไม่ควรเขียนวกไปวนมา
เพราะผู้อ่านอาจเกิดความสับสนจนไม่สามารถแยกแยะได้ว่าส่วนใดเป็นข้อเท็จจริงและส่วนใดเป็นการแสดงความคิดเห็น
-
การเปิดเรื่อง
ใช้หลักการเช่นเดียวกับการเขียนสรุปและควรปิดเรื่องให้ผู้อ่านประทับใจ
๕.
การใช้ภาษา
ควรใช้ภาษาอย่างสละสลวย ชัดเจน ไม่เยิ่นเย้อ
มีการใช้สำนวนโวหารอย่างเหมาะสมกับเรื่อง
นอกจากนั้นยังต้องใช้ถ้อยคำที่สื่อความหมายได้ตรงตามอารมณ์และความรู้สึกของผู้เขียน
ทั้งนี้พึงหลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่แสดงอารมณ์รุนแรง
ซึ่งอาจก่อให้เกิดความขัดแย้งอย่างรุนแรงภายหลัง
No comments:
Post a Comment